最後の授業で分かるようになったこと
วันนี้จะว่าด้วยเรื่องของวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ล้วนๆ
ไม่ว่าจะเป็นความประทับใจแรก สิ่งที่ผิดคาด สิ่งที่ชอบมากๆ หรือสิ่งที่ได้จากวิชานี้
ไม่ว่าจะเป็นความประทับใจแรก สิ่งที่ผิดคาด สิ่งที่ชอบมากๆ หรือสิ่งที่ได้จากวิชานี้
โดยครั้งนี้จะใช้วิธี内省รูปแบบใหม่นั่นคือ ตั้งคำถามกับตัวเองเป็นQ&A ค่ะ
A: เราเป็นคนชอบเรียนภาษาศาสตร์ ชอบนั่งฟังเรื่องที่เกี่ยวกับศาสตร์นี้ ถ้าเป็นหัวข้อที่เข้าใจได้ก็จะนั่งฟังได้ทั้งวัน5555 แต่ความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับภาษาศาสตร์มันเป็นเหมือนเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ไม่เชื่อมโยงกัน เราเลยคิดว่า เอ๊ะ หรือเพราะเรายังเรียนไม่มากพอ เนื้อหามันเลยขาดช่วงขาดตอน เราก็เลยพยายามลงเรียนทุกอย่างที่เกี่ยวกับภาษาศาสตร์ให้มากที่สุด และวิชานี้ก็เป็นวิชาภาษาศาสตร์ตัวสุดท้ายที่เราได้เรียนในชีวิตนักศึกษาป.ตรี
Q2: 印象ที่มีต่อวิชานี้?
A: ความรู้สึกนึงที่จำได้คือ เราอยากเรียนวิชานี้มาตั้งแต่ปีแรกๆ น่าจะสมัย ปี1 หรือ ปี2 คือเป็นช่วงที่ผ่านวิชา Introduction to Language มาแล้ว ตอนนั้นคงเริ่มรู้ตัวแล้วว่าชอบสายนี้ เลยมาดูว่าในเอกญี่ปุ่นมีวิชาแบบนี้กี่ตัว มีอะไรบ้าง ระหว่างที่หาดู เราก็มาสะดุดที่วิชา Japanese Applied Linguistic เราไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน เราก็เลยไปถามรุ่นพี่ว่ามันเป็นวิชาเกี่ยวกับอะไร รุ่นพี่ก็บอกว่า เป็นวิชาภาษาศาสตร์เนี่ยะแหละ เค้าเรียกว่าภาษาศาสตร์ประยุกต์ และจะเน้นเรื่องการสอนภาษาด้วย ตอนนั้นเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการสอนภาษาที่พี่พูดหมายถึงอะไร รู้แค่ว่า อยากจะรู้จังว่าเค้าเอาไป"ประยุกต์"ยังไง หลังจากนั้นเราก็จำได้แค่ว่าเราอยากเรียนตัวนี้มากๆ เรียกได้ว่านับเวลารอว่าเมื่อไหร่จะได้เรียนเลยก็ว่าได้ (พอตอนนี้มองย้อนกลับไปละเพิ่งจะรู้ตัวว่า กว่าจะได้เรียนก็เล่นเอาเทอมสุดท้ายเลยนะเนี่ยะ5555)
Q3: พอได้เรียนจริงๆ เหมือนหรือแตกต่างจากที่คิดไว้ไหม?
A: ต่างนะ 5555555 อยากที่บอกไปว่า เราคิดว่าภาษาศาสตร์ประยุกต์คือเอาภาษาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ทำอะไรซักอย่าง อารมณ์เหมือนเอาขวดพลาสติกมาประยุกต์ใช้เป็นแจกันดอกไม้อะไรแบบนั้น 55555 แต่จริงๆแล้วภาษาศาสตร์ประยุกต์มันคือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอะไรก็ได้อีกสิ่งหนึ่งต่างหาก
Q4: ประทับใจอะไรในวิชานี้?
A: หลักๆเราชอบอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคือภาคทฤษฎี เราชอบวิธีที่อาจารย์สอนตามTimelineของสิ่งที่เกิดขึ้น อาจารย์จะเล่าBackgroundของช่วงเวลาที่เกิดทฤษฎีใหม่ๆขึ้นว่า อะไรมันเป็นตัวส่งผลให้เกิดความคิดแบบนี้ขึ้นมา และพอมีทฤษฎีใหม่ขึ้นมา ความคิดถัดไปก็มาเติมเต็มทฤษฎีก่อนหน้า ทุกอย่างมันส่งผลต่อกันเป็นทอดๆ วิธีการเล่าเรื่องแบบนี้มันทำให้เราสามารถจัดและเชื่อโยงความคิดในหัวได้ดีและเข้าใจง่ายมากขึ้น
อีกอย่างที่เราชอบก็คือ การได้เป็นหนูทดลองทฤษฎีต่างๆด้วยตัวเอง สิ่งที่เราเพิ่งจะมานึกได้ตอนที่เรียนจบแล้ว เราเพิ่งเข้าใจว่ากิจกรรมที่อาจารย์ให้เราทำในห้อง เช่นทำTaskที่ให้ลองพูดภาษาญี่ปุ่น ให้ลองแก้เอง ลองสังเกตเอง ทุกอย่างมันคือกระบวนการเรียนรู้ที่มาจากทฤษฎีที่เราเรียนกันในห้องทั้งนั้น ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ให้ลองเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น เราก็ได้เรียนรู้ว่า การทำTaskอะไรที่ยากๆและไม่เคยทำหรือไม่เคยเรียนมาก่อนเป็นเรื่องที่กดดัน และยาก จากตรงนี้เราก็ได้รู้ความรู้สึกของผู้เรียนที่เรียนผ่านแนวการสอนของทฤษฎี Output Hypothesis แล้วว่า "เออ มันเครียดจริงๆด้วย" และเราก็ได้เรียนรู้ด้วยตัวเราเองว่า "การเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเองจะทำให้เราจดจำได้ดีกว่าจริงๆ"
Q4: ประทับใจอะไรในวิชานี้?
A: หลักๆเราชอบอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคือภาคทฤษฎี เราชอบวิธีที่อาจารย์สอนตามTimelineของสิ่งที่เกิดขึ้น อาจารย์จะเล่าBackgroundของช่วงเวลาที่เกิดทฤษฎีใหม่ๆขึ้นว่า อะไรมันเป็นตัวส่งผลให้เกิดความคิดแบบนี้ขึ้นมา และพอมีทฤษฎีใหม่ขึ้นมา ความคิดถัดไปก็มาเติมเต็มทฤษฎีก่อนหน้า ทุกอย่างมันส่งผลต่อกันเป็นทอดๆ วิธีการเล่าเรื่องแบบนี้มันทำให้เราสามารถจัดและเชื่อโยงความคิดในหัวได้ดีและเข้าใจง่ายมากขึ้น
นี่คือสรุปที่เราวาดขึ้นเพื่อเตรียมตัวสอบ |
Q5: (ทิ้งท้าย) จะเอาสิ่งที่เรียนไปใช้อย่างไร
A: เราชอบการสอน เราสอนมาหลายอย่างไม่ว่าจะด้านภาษา อย่างภาษาญี่ปุ่นเองหรือภาษาอังกฤษ ด้านดนตรีก็เคยสอนเปียโนอยู่พักนึง เรารู้สึกว่าเรื่องทฤษฎีกับแนวการสอนภาษาที่สองทุกอย่างที่เรียนในห้องสามารถเอามาปรับใช้กับการสอนได้ทุกอย่างเลย เอาไปใช้สอนดนตรีก็ยังได้ สิ่งที่เราจะนำไปใช้ก็คือการคิดถึงนักเรียนของเราว่า เขาต้องการหรือเขาน่าจะถนัดกับการสอนแบบไหน หรือในสถานการณ์นี้ ในหัวข้อหรือบทเรียนนี้ เราควรจะสอนด้วยวิธีการสอนแบบไหน มีอะไรที่จะช่วยให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้นไหม เราควรจะเข้าไปยุ่งกับนักเรียนมากน้อยแค่ไหน
หัวใจสำคัญหลักของทั้งหมดที่กล่าวมาคือการพยายาม工夫วิธีการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การได้รู้ว่าขณะที่เรานั่งเรียนแบบไม่ต้องคิดอะไร มีคนกลุ่มนึงนั่งค้นคว้านั่งทดลองนั่งวิจัยเป็นปีๆเพื่อเรา ในฐานะผู้เรียนคนหนึ่ง มันเป็นสิ่งที่เราประทับใจ(感謝)มากๆค่ะ
รูปน่ารักก ชอบที่เขียนบรรทัดสุดท้าย แบบเราเคยคิดอย่างเดียวว่าคนเรียนกับคนสอนเหนื่อยเท่ากัน จริงๆแล้วคนสอนอาจจะเหนื่อยมากกว่าหน่อย ต้องใช้เวลาหลายต่อหลายปีหาวิธีที่ดีที่สุดมาสอนพวกเรา บางทีก็แอบรู้สึกผิดเหมือนกันที่บางทีขี้เกียจไม่ตั้งใจเรียน
ReplyDeleteประทับใจการสรุปเรื่องที่เรียนมาก สรุปได้ดีจัง (เรื่อง processing instrcution เพี้ยนนิดเดียว (สงสัยจะสอนไม่ดี 555) แถมน่ารักมากๆอีกต่างหาก อยากจะยืมไปให้รุ่นน้องดูจัง (มี copyrightไหม) A Little Morph เป็นคนที่มี sense ในการสังเกตภาษามากๆ สมกับที่บอกว่าชอบภาษาศาสตร์ ทำให้ครูสอนได้ง่ายมาก ขอบคุณที่ลงวิชานี้นะคะ (คนน้อย ต่อไปไม่รู้จะถูกปิดไหม555) รูปภาพในคลาสน่ารักจังเลย...ดูสาวกว่าตัวจริง(แอบดีใจ) จริงด้วย เขาวิจัยกันมาตั้งนานกว่าจะได้ทฤษฎีอะไรต่อมิอะไร เราก็มีสิทธิ์วิจัยและเสนอ.....Hypothesis แบบเขาก็ได้นะคะ
ReplyDeleteเรื่อง Processing Instruction จริงๆแล้วคืออะไรหรอคะอาจารย์ ป.ล.555555 ยินดีค่ะ แต่หนูวาดแบบให้ตัวเองเข้าใจ ไม่รู้คนอื่นจะเข้าใจเหมือนรู้รึป่าวนะคะ
ReplyDeleteคือมันเหมือนกับค่อยๆสอน และฝึกไปทีละนิด ต่างกับการสอนที่ผ่านมาที่ให้ input ในหัวข้อหนึ่งไปทั้งหมดแล้วก็ให้ผู้เรียนสร้าง output ออกมาทีเดียวเลย(แบบนี้ผู้เรียนก็อาจจะทำไม่ได้หรือไม่ได้เกิด 自動化จริงๆ) การสอนแบบนี้เขาจะให้ input แล้วก็ฝึกทีละนิด และฝึกแบบง่ายก่อนคือให้ฟังให้เข้าใจก่อน (ยังไม่ต้องสร้าง output) แล้วก็ค่อยๆเพิ่ม input ไปและฝึกไปจากเบาไปหาหนัก จนผู้เรียนเข้าใจได้แล้วจึงค่อยให้สร้าง output ในตอนท้ายค่ะ
ReplyDelete