「あいづち」でもレベルがある
อาทิตย์ก่อนเราเรียนเรื่อง あいづち ในห้องกัน
อาจารย์ก็ให้เราลองฟังคนญี่ปุ่นที่ทำ Podcast เล่าเรื่อง
ในนั้นมีผู้ชายเป็นคนเล่าเรื่องหนึ่งคน และมีผู้หญิงเป็นคนฟัง คอยโตตอบด้วย あいづち
ในขณะที่ลองสังเกตวิธีใช้ あいづち ของผู้หญิงคนนั้น
เราก็สังเกตเห็นว่าเขาใช้ えー เยอะมาก ในขณะที่เราไม่ค่อยได้ใช้ตัวนี้เลย
จนเราได้มารู้ทีหลังว่า มันคือ あいづち ในระดับที่สุภาพกว่าพวก うん หรือ あー
เราก็เลยมานั่งคิดว่า แล้วทำไมเราถึงไม่เคยใช้ล่ะ คำตอบที่ได้คือ
1. เราไม่ค่อยได้สนทนากับคนในระดับที่สูงกว่า ส่วนมากก็คุยกับเพื่อน
2. แม้ว่าจะต้องสนทนากับอาจารย์ที่ปรึกษา เราก็เลือกที่จะใช้แค่ はい อย่างเดียว
3. ลักษณะการใช้ あいづち ของเรายังไม่หลากหลายพอที่จะต้องหาอะไรมาแทน はい
พูดง่ายๆก็คือ เราใช้ あいづち น้อยมาก เพราะฉะนั้นใช้แค่ はい อย่างเดียวก็เลยดูไม่แปลกมั้ง
แต่ถ้าเรามาคำนึงถึงวัฒนธรรมและมารยาททางสังคมของญี่ปุ่นจริงๆ สิ่งที่เราควรปรับปรุงคือ
- เราควรมี あいづち บ่อยมากขึ้นเวลาพูดแบบสุภาพ
- เราควรมี あいづち หลากหลายมากขึ้นเวลาพูดแบบสุภาพ
ดังนั้น เราจึงคิดว่าเราควรใช้ あいづちแบบสุภาพดูบ้าง
ลักษณะあいづちแบบสุภาพที่เราสังเกตุได้จากบท Podcast สรุปได้ประมานนี้
1. กลุ่ม だ จะเปลี่ยนเป็น です เช่น そうだね→そうですね そうか→そうですか
ตัวอย่าง A:それならダメでしょ。
2. กลุ่มตอบรับแบบคล้อยตาม เช่น うん จะเปลี่ยนเป็น はい หรือ えー
ตัวอย่าง A:彼がわざわざ説明したし、
3. กลุ่มที่ใช้แสดงอารมณ์ประหลาดใจมักใช้ได้ทั้งระดับกันเองและสุภาพ เช่น へー おー ほー
ตัวอย่าง A:そして、おじさんは颯爽と電車を捕まえ乗ってい きました。
จริงๆในภาษาไทยของเราก็มีนะ และคิดว่าเราก็มีระดับความสุภาพด้วย
เช่น เวลาพูดกับเพื่อน เราอาจจะพูดว่า "เห้ย" "จริงอ่ะ" "อืม" "อาฮะ"
แต่เวลาพูดกับอาจารย์ เราก็จะเปลี่ยนเป็น "โห" "จริงหรอคะ" "ค่ะ" โดยอัตโนมัติ
เราคิดเอาเองว่าในทุกภาษาน่าจะมีวัฒนธรรมที่จะต้องโต้ตอบคู่สนทนาด้วยคำเล็กๆแบบนี้อยู่แล้วมันน่าเป็นธรรมชาติของการสนทนามากกว่า
เพียงแต่ว่าในแต่ละภาษาจะมีความถี่ มีกฎเกณฑ์ในการใช้โต้ตอบมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น
อาจารย์ก็ให้เราลองฟังคนญี่ปุ่นที่ทำ Podcast เล่าเรื่อง
ในนั้นมีผู้ชายเป็นคนเล่าเรื่องหนึ่งคน และมีผู้หญิงเป็นคนฟัง คอยโตตอบด้วย あいづち
ในขณะที่ลองสังเกตวิธีใช้ あいづち ของผู้หญิงคนนั้น
เราก็สังเกตเห็นว่าเขาใช้ えー เยอะมาก ในขณะที่เราไม่ค่อยได้ใช้ตัวนี้เลย
จนเราได้มารู้ทีหลังว่า มันคือ あいづち ในระดับที่สุภาพกว่าพวก うん หรือ あー
เราก็เลยมานั่งคิดว่า แล้วทำไมเราถึงไม่เคยใช้ล่ะ คำตอบที่ได้คือ
1. เราไม่ค่อยได้สนทนากับคนในระดับที่สูงกว่า ส่วนมากก็คุยกับเพื่อน
2. แม้ว่าจะต้องสนทนากับอาจารย์ที่ปรึกษา เราก็เลือกที่จะใช้แค่ はい อย่างเดียว
3. ลักษณะการใช้ あいづち ของเรายังไม่หลากหลายพอที่จะต้องหาอะไรมาแทน はい
พูดง่ายๆก็คือ เราใช้ あいづち น้อยมาก เพราะฉะนั้นใช้แค่ はい อย่างเดียวก็เลยดูไม่แปลกมั้ง
แต่ถ้าเรามาคำนึงถึงวัฒนธรรมและมารยาททางสังคมของญี่ปุ่นจริงๆ สิ่งที่เราควรปรับปรุงคือ
- เราควรมี あいづち บ่อยมากขึ้นเวลาพูดแบบสุภาพ
- เราควรมี あいづち หลากหลายมากขึ้นเวลาพูดแบบสุภาพ
ดังนั้น เราจึงคิดว่าเราควรใช้ あいづちแบบสุภาพดูบ้าง
ลักษณะあいづちแบบสุภาพที่เราสังเกตุได้จากบท Podcast สรุปได้ประมานนี้
1. กลุ่ม だ จะเปลี่ยนเป็น です เช่น そうだね→そうですね そうか→そうですか
ตัวอย่าง A:それならダメでしょ。
B:そうだね →そうですね。
A:違うね、それは。
B:そうなんだね →そうなんですね。
2. กลุ่มตอบรับแบบคล้อยตาม เช่น うん จะเปลี่ยนเป็น はい หรือ えー
ตัวอย่าง A:彼がわざわざ説明したし、
B:うん →はい
A:何回も誤ったし、
B:うん →えー
ตัวอย่าง A:そして、おじさんは颯爽と電車を捕まえ乗ってい きました。
B:おー ✔
A:私がずっと先に必死に走ってきたのに、
B:へー ✔
จริงๆในภาษาไทยของเราก็มีนะ และคิดว่าเราก็มีระดับความสุภาพด้วย
เช่น เวลาพูดกับเพื่อน เราอาจจะพูดว่า "เห้ย" "จริงอ่ะ" "อืม" "อาฮะ"
แต่เวลาพูดกับอาจารย์ เราก็จะเปลี่ยนเป็น "โห" "จริงหรอคะ" "ค่ะ" โดยอัตโนมัติ
เราคิดเอาเองว่าในทุกภาษาน่าจะมีวัฒนธรรมที่จะต้องโต้ตอบคู่สนทนาด้วยคำเล็กๆแบบนี้อยู่แล้วมันน่าเป็นธรรมชาติของการสนทนามากกว่า
เพียงแต่ว่าในแต่ละภาษาจะมีความถี่ มีกฎเกณฑ์ในการใช้โต้ตอบมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น
สารภาพว่าเข้ามาเพราะรูปน้องนกดึงดูด555 ชอบที่พี่สรุปเป็นข้อๆ ทำให้หนูเข้าใจง่ายขึ้นเยอะ ปกตินี่จะใช้あいづち กับเพื่อนตลอด พอต้องใช้สุภาพก็จะลืมตัวทุกทีเลย TT
ReplyDeleteเข้ามาด้วยเหตุผลเดียวกับเม้นบน 555555 แล้วก็ชอบที่มีการใช้สีสันด้วย ดึงดูดแล้วก็เข้าใจง่ายขึ้น >< หลังจากนี้น่าจะต้องใช้ภาษาญี่ปุ่นกับผู้ใหญ่มากขึ้นกว่าเดิม... คงต้องระวังมากกว่านี้แล้ววว
ReplyDelete