言葉のニュアンス


ในวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ที่กำลังเรียนอยู่ตอนนี้
หรือแม้แต่เท่าที่เห็นกันมาตลอดในบล็อกนี้
หลายๆคนคงจะพอเห็นว่าเราให้ความสำคัญกับการสังเกตตัวเองมากๆ
เช่นสังเกตวิธีการใช้ภาษาของตัวเอง และการใช้ภาษาของคนที่เป็นNative
จากั้นก็เอามาเปรียบเทียบกันบ้าง เลียนแบบบ้าง แล้วแต่เรา

source : http://blog.livedoor.jp/kazuyoshi1000/archives/9794511.html
สิ่งที่จะพูดในครั้งนี้ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้จากการสังเกตดตนเองเช่นกัน
แต่เป็นการสังเกตระหว่างภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น
ต่างจากคราวก่อนๆที่เป็นญี่ปุ่น-ญี่ปุ่น
เนื่องจากเราได้มาจากตอนที่เรียนวิชาแปลไทย-ญี่ปุ่นนั่นเอง








ทุกคนเคยรู้สึกไหมว่าในภาษาไทย เรามักใช้คำที่ครอบคลุมความหมายกว้าง
เรามักมีคำกลางๆที่สามารถใช้ได้ครอบคลุมหลายกรณี 
ต่างจากภาษาญี่ปุ่นที่มักมีข้อจำกัด คำบางคำที่มีความหมายลักษณะเดียวกันแต่ใช้กันคนละสถานการณ์
เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า 使い分け หรือการแยกว่าคำนี้ใช้กับสถานการณ์ไหนได้ไม่ได้บ้าง

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของคำที่มี 使い分け น่าจะเป็นคำที่สามารถเขียนด้วยคันจิหลายแบบ 
เช่น คำว่า きく(ฟัง)ที่สามารถเขียนได้ 3 แบบ คือ「聞く」「聴く」
แต่การใช้คันจิแต่ละแบบก็จะให้ความหมาย หรือ ニュアンス ที่แตกต่างกันออกไป
โดย「聞く」คือ การฟังที่เราได้ยินโดยที่ไม่ได้ตั้งใจจะฟัง แต่มันเข้ามาในหูเราเองโดยธรรมชาติ
    「聴く」คือ การฟังโดยตั้งใจฟังโดยหมายจะจับใจความหรือทำความเข้าใจของสิ่งที่ฟังด้วย
 


ทีนี้มาถึงตัวอย่างคำศัพท์ที่เราเจอในวิชาการแปลบ้างดีกว่า

คู่คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นต่อไปนี้สามารถแทนด้วยคำภาษาไทยคำเดียวได้อย่างสบายๆ
ขอให้ทุกคนลองทายเล่นไปพร้อมๆกันว่าคำๆเดียวที่ว่าในแต่ละข้อคือคำว่าอะไร
เราจะเฉลยไว้ท้ายข้อนะ

1. 調査 VS 検査 
「調査」:事を明らかにするために調べること。
「検査」:ある基準をもとに、異状の有無、適不適などを調べること。
  ↓       
  ↓       
  ↓       
  ↓       
  ↓       
คำตอบก็คือออออ คำว่า"ตรวจสอบ"นั่นเอง เพราะว่า
「調査」คือ การตรวจสอบเพื่อชี้แจ้งสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น ตรวจสอบความจริงของคดี
「検査」คือ การตรวจสอบดูว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ เช่น ตรวจสอบสินค้าว่าผ่านQCหรือไม่


2. 権力 VS 権限 
「権力」:他人を強制し服従させる力。特に国家や政府などがもつ、国民に対する強制力。
「権限」:ある範囲のことを正当に行うことができるものとして与えられている能力。
  ↓       
  ↓       
  ↓       
  ↓       
  ↓       
คำตอบก็คือออออ คำว่า"อำนาจ"นั่นเอง เพราะว่า
「権力」คือ อำนาจที่เอาไว้ใช้บังคับใช้สั่งคนอื่น เป็นความหมายเดียวกับอำนาจในคำว่า"บ้าอำนาจ"
「権限」คือ อำนาจที่ทำได้ในหน้าที่หนึ่ง นั่นแปลว่าจะจำกัดอยู่ตามที่หน้าที่กำหนด เช่น อำนาจในการตัดสินใจของบริษัทจะขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้น เป็นต้น


3. 政策 VS 方針 (ข้อนี้ยากหน่อย)
「政策」: 政府・政党などの施政上の方針や方策。
「方針」:これから進むべき方向。目指す方向。
  ↓       
  ↓       
  ↓       
  ↓       
  ↓       
คำตอบก็คือออออ คำว่า"นโยบาย"นั่นเอง เพราะว่า
「政策」คือ วิธีแการหรือแนวทางของรัฐบาล ซึ่งภาษาไทยเราใช้คำเฉพาะว่านโยบาย
「方針」คือ วิธีการหรือแนวทางการจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เป็นความหมายกว้างๆ ซึ่งภาษาไทยเราสามารถใช้คำว่าแนวทางก็ได้ หรือจะใช้คำว่านโยบายก็ได้ เช่น โรงเรียนมีนโยบายให้นักเรียนพูดภาษาอังกฤษในห้องเรียน เพื่อเตรียมรับมืออาเซียน จะเห็นว่า แม้ไม่ใช่แนวทางที่คิดขึ้นโดยรัฐบาล เราก็ยังสามารถใช้คำว่านโยบายแทนในประโยคนี้ได้




นี่ก็เป็นธรรมชาติของภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่นอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ตัวเราเกิด意識ว่า
ภาษาแต่ละภาษาไม่เท่ากัน การแปลที่ดีคือเราต้องรู้จักธรรมชาติของภาษาทั้งสองด้วย
และนี่ทำให้เราคอยเตือนตัวเองทุกครั้งก่อนจะลงมือแปลว่า
สิ่งที่คนไทยเรามองรวมๆว่าเป็นสิ่งเดียวกัน คนญี่ปุ่นเขามองแบบเดียวกับเรารึเปล่านะ
เขาจะมองว่ามันสามารถแตกแยกยิบย่อยออกไปเป็นหลายๆความหมายอีกหรือเปล่านะ
เราว่ามันน่าทึ่งมากๆที่ภาษาทำให้เราสามารถเห็นว่าคนสองชาติมีมุมมองไม่เหมือนกันได้

Comments

  1. เรื่องนี้น่าสนใจมากสำหรับภาษาไทยเรามีที่ชอบเหมารวม พอมาเจอญี่ปุ่นที่แบ่งความหมายซะยิบย่อยนี่ทำเอามึนไปเหมือนกันว่าจะใช้คำไหนดี เวลาจะใช้ก็ต้องมานั่งคิดตรวจความหมายก่อนถ้าไม่เพิ่มคลังศัพท์ของเราให้มากขึ้นนี่น่าจะยากอยู่ TT

    ReplyDelete
  2. 『翻訳できない 世界の言葉』という本を翻訳した方がいるんですね。
    母語の感覚ではまったく違うことばが、あるいはニュアンスは違うのにうまく説明できないことばの違いを、外国の方に聞かれて困ったことがあります。
    「政策」と「方針」考えたこともありませんでした。言われてみれば、近い意味のことばですね。

    ReplyDelete
    Replies
    1. タイ人も無意識的にに一つの言葉で表してしまいますね。

      Delete
  3. ขอบคุณมากๆที่เอาเรื่องที่มีประโยชน์อย่างนี้มาแชร์กัน ตลอดชีวิตการเรียนภาษาญี่ปุ่นคือมีปัญหากับการเลือกใช้คำจริงๆนะ อย่างคำว่า調査 検査 นี่ก็เคยเลือกใช้ไม่ถูกมาเหมือนกัน พอมาอ่านอันนี้แล้วเข้าใจเลย ส่วนตัวแล้วเวลาเจอคำที่มีคำแปลคล้ายๆกันจะพยายามไปนั่งดู例文ว่าเค้าใช้กันยังไงอ่ะค่ะ

    ReplyDelete

Post a Comment

Popular Posts