Climaxの語り方
หลังจากที่คราวก่อนเราบล็อกเรื่องวิธีเล่าเรื่องให้สนุกไปแล้ว
สัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ก็ให้เราลองทำ Story Telling กันในห้องอีกรอบหนึ่ง
ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการเล่าเรื่องใหม่ และไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน
แต่เราได้ลองเอาสิ่งที่เราเรียนรู้จากคราวก่อนมาปรับใช้ในครั้งนี้ดู
เราจำได้ว่า ตอนที่เราเล่าอยู่ เรก็พยายามระวังตัวอยู่ตลอดเวลา
คือพยายามนึกตลอดเวลาว่า เราควรเล่าอย่างไรให้เรื่องมันสนุกนะ
และเราก็รู้สึกว่าเราทำได้ดีขึ้นจากคราวที่แล้ว
อย่างน้อยสิ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือ
เราสามารถเล่าเรื่องให้เป็นฉากต่อๆกันได้
ต่างจากที่คราวก่อนเราจะพูดเป็นประโยคๆแล้วตัดจบทุกประโยค
แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดที่เห็นได้จากการลองเล่าเรื่องในครั้งนี้
นั่นก็คือ การเล่าเรื่องช่วง Climax
เรารู้สึกว่าเราทำออกมาได้ดีกว่าครั้งก่อนมากๆ เราก็เพิ่งมาสังเกตตอนที่ถอดเสียงนี่แหละ
ก่อนอื่นเลยเราจะเล่าเรื่องย่อของเรื่องที่เราเล่าก่อน:
เมื่อวานเรานั่งรถไฟไปเกียวโตมา ตอนขึ้นรถไฟก็มีคุณลุงคนหนึ่งนอนหลับอยู่บนรถไฟอยู่คนหนึ่ง เรานั่งฝั่งตรงข้ามคุณลุงคนนั้น สักพักก็เริ่มมีคนอื่นเข้ามาในรถไฟมากขึ้น จนถึงสถานีคาวาระมะชิ เราก็เห็นคนท่าทางแปลกๆคนนึงเดินขึ้นรถไฟมา เขาใส่เสื้อผ้าสกปรก แบกกระเป๋าใบใหญ่ ดูท่าทางคล้ายพวกโฮมเลส ชายท่าทางแปลกๆคนนั้นเลือกที่นั่งข้างๆคุณลุงที่กำลังนอนหลับอยู่ เราก็ไม่ได้คิดอะไร จนกระทั่งเราเห็นบางอย่างผิดปกติ เราเห็นคุณลุงทำกระเป๋าตังที่ถืออยู่ในมือตกลงที่พื้นโดยไม่รู้สึกตัว แล้วชายโฮมเลสคนนั้นก็หยิบมันขึ้นมา แต่แทนที่เขาจะคืนให้คุณลุง เขากลับยัดมันเข้าไปใส่แจ็คเก็ตของตัวเอง พอเราเห็นอย่างนั้นก็เลยรีบวิ่งออกไปที่สถานีและแจ้งให้ตำรวจจับตัวชายคนนั้น พอตำรวจจับตัวชายคนนั้นได้ ตำรวจก็ออกหาหลักฐานคือกระเป๋าตังของคุณลุง ตำรวจพบกระเป๋าตังนั้นถูกทิ้งไว้ในถังขยะแถวชานชาลา เขาจึงนำกระเป๋าตังอันนั้นมายืนยันกับเราว่า สิ่งที่เราเห็นใช่สิ่งนี้หรือไม่ แต่ทันใดนั้นเอง เมื่อเราเห็นสิ่งตำรวจถือมา เราก็ตกใจเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งๆนั้นแท้จริงแล้วไม่ใช่กระเป๋าตัง แต่เป็นกล่องป๊อกกี้เปล่าลายกระเป๋าตัง ไม่ใช่กระเป๋าตังจริงๆ ชายคนนั้นเห็ว่าเป็นขยะเลยช่วยหยิบลงมาทิ้งให้
↓ ↓ ↓ ส่วนที่เป็นตัวเอียง เราพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นออกมาประมาณนี้ ↓ ↓ ↓
電車が出発して、しばらくして、でなんか、変なことを見ちゃったの。なんか、さっきの、寝てるおじちゃんが、持ってる財布を、落としちゃって、で、さっきの怪しいな人が、それを取っちゃったんだよ。それを見ちゃった。で、それが私が見たんでしょう?だから、何しなきゃならないって思ってて、でなんか次の駅に着いたら、外に飛ばして、で、警察?ってか、スタッフさんに、電車の中でそれを見た、見たのってその人に教えた。それでね、さっきの怪しい人の顔と、おじちゃんの財布の形を説明してて、で、あのう警察さんがその怪しいの人を捕まえて、でもね、捕まえたんだけど、その怪しい人に「あなたが、財布を取りましたか?」って言ったら(え、どうしたの?)どうしたと思う?(えー、どうしたと思う?あ、絶対、私やらないって言うじゃん。普段は、)ま、そうだけど、やらないっては言ったんだけど(え、証拠とかないの?)うん、証拠がね、ごみ箱に入ってたの(えっ!どこの?)駅の。で、警察がそれを探してて、持ってきて私に見せて(あー)それはね、(うん)財布じゃなかったの。(え何?笑)それが、(笑)実はね(うん)ポッキーのポーチのようなデザインだったの。(ふふふ)ポッキー箱(何それ!笑)そう、お菓子の箱だよ、それは。(えっ!えー?)だって、財布みたいなデザインじゃん(そうだ。あるよね。あるよね。そいうのある)だから勘違いしちゃったの(えー?)恥ずかしかったぁ
วิธีเล่าเรื่องที่เราคิดว่าสามารถทำได้ดีขึ้นมีอยู่ 3 อย่างคือ
ส่วนที่เป็น Highlight สีม่วงคือส่วนที่เราเรียกว่า Meta Language
สัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ก็ให้เราลองทำ Story Telling กันในห้องอีกรอบหนึ่ง
ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการเล่าเรื่องใหม่ และไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน
แต่เราได้ลองเอาสิ่งที่เราเรียนรู้จากคราวก่อนมาปรับใช้ในครั้งนี้ดู
เราจำได้ว่า ตอนที่เราเล่าอยู่ เรก็พยายามระวังตัวอยู่ตลอดเวลา
คือพยายามนึกตลอดเวลาว่า เราควรเล่าอย่างไรให้เรื่องมันสนุกนะ
และเราก็รู้สึกว่าเราทำได้ดีขึ้นจากคราวที่แล้ว
อย่างน้อยสิ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือ
เราสามารถเล่าเรื่องให้เป็นฉากต่อๆกันได้
ต่างจากที่คราวก่อนเราจะพูดเป็นประโยคๆแล้วตัดจบทุกประโยค
แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดที่เห็นได้จากการลองเล่าเรื่องในครั้งนี้
นั่นก็คือ การเล่าเรื่องช่วง Climax
เรารู้สึกว่าเราทำออกมาได้ดีกว่าครั้งก่อนมากๆ เราก็เพิ่งมาสังเกตตอนที่ถอดเสียงนี่แหละ
ก่อนอื่นเลยเราจะเล่าเรื่องย่อของเรื่องที่เราเล่าก่อน:
เมื่อวานเรานั่งรถไฟไปเกียวโตมา ตอนขึ้นรถไฟก็มีคุณลุงคนหนึ่งนอนหลับอยู่บนรถไฟอยู่คนหนึ่ง เรานั่งฝั่งตรงข้ามคุณลุงคนนั้น สักพักก็เริ่มมีคนอื่นเข้ามาในรถไฟมากขึ้น จนถึงสถานีคาวาระมะชิ เราก็เห็นคนท่าทางแปลกๆคนนึงเดินขึ้นรถไฟมา เขาใส่เสื้อผ้าสกปรก แบกกระเป๋าใบใหญ่ ดูท่าทางคล้ายพวกโฮมเลส ชายท่าทางแปลกๆคนนั้นเลือกที่นั่งข้างๆคุณลุงที่กำลังนอนหลับอยู่ เราก็ไม่ได้คิดอะไร จนกระทั่งเราเห็นบางอย่างผิดปกติ เราเห็นคุณลุงทำกระเป๋าตังที่ถืออยู่ในมือตกลงที่พื้นโดยไม่รู้สึกตัว แล้วชายโฮมเลสคนนั้นก็หยิบมันขึ้นมา แต่แทนที่เขาจะคืนให้คุณลุง เขากลับยัดมันเข้าไปใส่แจ็คเก็ตของตัวเอง พอเราเห็นอย่างนั้นก็เลยรีบวิ่งออกไปที่สถานีและแจ้งให้ตำรวจจับตัวชายคนนั้น พอตำรวจจับตัวชายคนนั้นได้ ตำรวจก็ออกหาหลักฐานคือกระเป๋าตังของคุณลุง ตำรวจพบกระเป๋าตังนั้นถูกทิ้งไว้ในถังขยะแถวชานชาลา เขาจึงนำกระเป๋าตังอันนั้นมายืนยันกับเราว่า สิ่งที่เราเห็นใช่สิ่งนี้หรือไม่ แต่ทันใดนั้นเอง เมื่อเราเห็นสิ่งตำรวจถือมา เราก็ตกใจเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งๆนั้นแท้จริงแล้วไม่ใช่กระเป๋าตัง แต่เป็นกล่องป๊อกกี้เปล่าลายกระเป๋าตัง ไม่ใช่กระเป๋าตังจริงๆ ชายคนนั้นเห็ว่าเป็นขยะเลยช่วยหยิบลงมาทิ้งให้
↓ ↓ ↓ ส่วนที่เป็นตัวเอียง เราพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นออกมาประมาณนี้ ↓ ↓ ↓
電車が出発して、しばらくして、でなんか、変なことを見ちゃったの。なんか、さっきの、寝てるおじちゃんが、持ってる財布を、落としちゃって、で、さっきの怪しいな人が、それを取っちゃったんだよ。それを見ちゃった。で、それが私が見たんでしょう?だから、何しなきゃならないって思ってて、でなんか次の駅に着いたら、外に飛ばして、で、警察?ってか、スタッフさんに、電車の中でそれを見た、見たのってその人に教えた。それでね、さっきの怪しい人の顔と、おじちゃんの財布の形を説明してて、で、あのう警察さんがその怪しいの人を捕まえて、でもね、捕まえたんだけど、その怪しい人に「あなたが、財布を取りましたか?」って言ったら(え、どうしたの?)どうしたと思う?(えー、どうしたと思う?あ、絶対、私やらないって言うじゃん。普段は、)ま、そうだけど、やらないっては言ったんだけど(え、証拠とかないの?)うん、証拠がね、ごみ箱に入ってたの(えっ!どこの?)駅の。で、警察がそれを探してて、持ってきて私に見せて(あー)それはね、(うん)財布じゃなかったの。(え何?笑)それが、(笑)実はね(うん)ポッキーのポーチのようなデザインだったの。(ふふふ)ポッキー箱(何それ!笑)そう、お菓子の箱だよ、それは。(えっ!えー?)だって、財布みたいなデザインじゃん(そうだ。あるよね。あるよね。そいうのある)だから勘違いしちゃったの(えー?)恥ずかしかったぁ
1. มีการใช้ Meta Language
คือใช้คำถามถามความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อดึงเข้าสู่ช่วงที่สำคัญ
การถามจะดึงเอาผู้ฟังเข้ามามีส่วนร่วมในการเล่าเรื่องด้วย
ทำให้ผู้ฟังถูกกระตุ้นให้สนใจในเรื่องที่เราจะเล่าได้มากขึ้น
จะเห็นว่าพอเราถามไป ปฏิกริยาที่ตอบกลับมาก็ทำให้เรารู้ถึงสิ่งที่อีกฝ่ายคาดเดาเอาไว้ก่อนได้อีกด้วย
เรา: どうしたと思う?
เพื่อน: えー、どうしたと思う?あ、絶対、私やらないって言うじゃん。普段は、
เรา: ま、そうだけど、やらないっては言ったんだけど、
2. ใช้がแทนはธรรมดา
เราไม่ได้พูดเรื่องนี้ในบล็อกคราวก่อน แต่เราก็สังเกตจากการพูดของคนญี่ปุ่บ้าง
ในการเรียนในห้องบ้าง หรือเวลาที่โดนอาจารย์แก้งานกลับมาบ้าง
เราสังเกตเอาเองว่า เมื่อต้องการเน้นประธานของประโยคในกรณีที่ไม่ปกติ
เช่น กรณีสรุป หรือ จุดพลิกเรื่อง
ประโยคที่ปกติแล้วจะเป็นโครงสร้าง N は~だ。
คนญี่ปุ่นจะเปลี่ยนมาใช้ N が~だ。แทน
เพื่อที่จุดสนใจจะมาอยู่ที่ประธาน N ของประโยคมากกว่า
ในการเล่าเรื่องครั้งนี้ก็เช่นกัน เราใช้คำช่วย が แทน は เพื่อที่จะเน้นคำว่า あれ
ซึ่งในที่นี่ก็คือสิ่งที่ตำรวจหยิบมาให้ดู ซึ่งถือเป็นตัวเฉลยปัญหาในเรื่องๆนี้
警察がそれを探してて、持ってきて私に見せて(あー)それはね、(うん)財布じゃなかったの。(え何?笑)それが、(笑)実はね(うん)ポッキーのポーチのようなデザインだったの。
3. เล่าเรื่องจบแล้ว ใส่感想ของตนใส่ในตอนท้าย
ครั้งก่อนที่เราล่าเรื่องไป เราจำได้ว่า พอเราเล่าจบ เฉลยตอนท้ายจบ เราก็ตัดจบเลย
ในขณะที่คนญี่ปุ่นทุกคนจะมีอะไรพูดตอนท้ายเสมอ ฟังแล้วก็ไม่ห้วนดี
ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกของตัวเองต่อเรื่องนั้น
เหตุผลว่าทำไมตนถึงได้ทำอย่างนั้น
หรือถามว่าอีกฝ่ายเห็นด้วยไหม เป็นต้น
ครั้งนี้เราเลยเพิ่มส่วนที่เป็นคล้ายๆคำแก้ต่างว่า
อะไรเป็นเหตุให้เราเข้าใจผิดจนเกิดเรื่องราวนี้ขึ้นมาได้
รวมถึงความรู้สึกของตัวเองต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่เล่ามา
だって、財布みたいなデザインじゃん(そうだ。あるよね。あるよね。そいうのある)だから勘違いしちゃったの(えー?)恥ずかしかったぁ
.
.
.
.
.
.
.
แม้ว่าลองทำครั้งที่สองแล้วก็ยังมีจุดผิดหลายอย่างอยู่ เช่นพวกแกรมม่า หรือคำศัพท์
แต่เทคนิคในการเล่าเรื่องของเราหลายอย่างพัฒนามากขึ้นเยอะ
บางอย่างเราทำได้โดยไม่รู้ตัว เป็น自動化ไปตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้
เช่นเรื่องเปลี่ยน は เป็น が ที่เราก็เพิ่งมารู้ตัวว่าเราสามารถใช้มันได้จริงตอนที่ถอดเสียง
คือเมื่อก่อนเราก็ใช้ は ธรรมดามาตลอด แต่เราก็เริ่มรู้ เริ่มเข้าใจเรื่องนี้
แต่ก็ยังไม่เคยใช้ได้ออกมาเองโดยที่ไม่ได้คิดแบบนี้
แต่นี่ก็เหมือนเป็นช่วงลองผิดลองถูก ใช้โดยไม่แน่ใจว่าถูกจริงรึป่าว
ในอนาคตอาจจะแย่ลงเพราะลองมั่วเกินไป เป็นการเรียนรู้แบบ U shape 5555
แต่มันก็จะทำให้เราไปสู่จุดที่เรียนรู้จนทำได้แบบ安定化ในที่สุด
Metalanguage กับความเห็นตอนท้าย เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนเลยค่ะ อีกอย่างที่เห็นคือหนูเล่าได้ละเอียดมากขึ้นเยอะ ค่อยๆวาดภาพไปทีละตอนและนำเรื่องไปสู่ climax ทำให้น่าติดตามมากขึ้น
ReplyDeleteโห มีพัฒนาการขึ้นมากเลย เรื่องがแทนはนี่เราลืมไปเลยอ่า อ่านบล็อกพี่แล้วก็นึกขึ้นได้ทันที ขอบคุณมากๆเลย
ReplyDeleteพี่เอิร์ธดูเป็นคนใส่ใจในรายละเอียดมากก แล้วก็ช่างสังเกตมากๆด้วย ซึ่งดีต่อการเรียนรู้ภาษามากๆ ส่วนตัวเราเรื่องがกับは จำได้นะว่าเคยเรียนแต่ลืมใช้ตลอดเลยอะ แง้ ต้องใส่ใจรายละเอียดให้มากขึ้นละ
ReplyDelete