相手がコツ!Part2:Voice Training

วันนี้เรามาต่อกันด้วยเรื่องวิธีทำให้พรีเซ้นต์ของเราออกมาดี

อย่างที่คราวที่แล้วเราใช้ผู้ฟังเป็นเกณฑ์ตัดสินว่า
เราควรทำสไลด์ของเราให้เข้าใจง่ายสำหรับผู้ฟัง
คือ คำนึงถึงคนฟังเป็นหลักอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

วันนี้เราจะใช้กฎหลัก相手がコツเช่นเดิม
แต่เราจะมาพูดเรื่องของวิธีการใช้เสียงกันบ้าง

เวลาออกไปพูดหนาห้องหรือพูดต่อหน้าคนเยอะๆ ทุกคนเคยเป็นแบบนี้บ้างหรือไม่
- ส..สส...เสียง..ส..ส...สั่น
- เสียงเบา......
- พูดเร็วจี๋!!!
- พูดได้พูดดีไม่มีหยุดหายใจพูดไม่เว้นววรรคพูดต่อกันเป็นพรืดดดดดด...เฮ้อ
- มีเอ่ออออ..คำ....เช่น....อืมมมม...あのう....えと

ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างปัญหาการควบคุมเสียงที่เกิดขึ้นเวลาเราตื่นเต้น
วันนี้เราเลยจะมานำเสนอ 3 วิธีฝึกเสียงง่ายๆสำหรับการพูดนำเสนอกันค่ะ


ข้อ 1 : ฝึกออกเสียงคำให้ชัด

ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอหน้าห้องหรือการสนทนาในทุกๆวัน
เรามักจะไม่ค่อยรู้ตัวว่าตัวเราพูดไม่ชัด เพราะเรารู้ตัวเองว่าเราพูดอะไรออกไป
แต่เคยไหมคะ ที่เรากำลังฟังคนอื่นพูดอยู่ แต่ได้ยินบางคำไม่ชัด
บางครั้งเราก็ข้ามๆมันไปได้ บางครั้งเราก็พอเดาได้ และบางครั้งเราก็ต้องถาม
ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับผู้ฟงัในระหว่างที่เราพรีเซ้นต์อยู่ นอกจากจะทำให้ผู้ฟังสะดุดแล้ว
อาจจะทำให้ได้รับสารไม่ครบเลยก็เป็นได้
ดังนั้นเราจึงต้องพยายามออกเสียงให้ชัดเวลาออกไปพูด


ตัวอย่างเช่น เสียงควบกล้ำ (ครั้งนี้ขอยกตัวอย่างภาษาไทยละกัน)
หลายๆคนรวมทั้งตัวเราเองก็มักจะไม่ออกเสียงควบกล้ำ
เช่น ออกเสียงว่า "คบ" แทนคำว่า "ครบ"
หรือเรียกคุณแม่บ้าน"ปริก"ว่า"อีปิก" (โอโห epic กันเลยทีเดียว)

รู้ไหมว่าเพียงแค่เราออกเสียงควบกล้ำให้ครบ การพูดของเราก็จะฉะฉานขึ้นมาเยอะมาก
แต่ว่าการพูดเสียงควบกล้ำตลอดเวลา มันยาก และ ไม่ถนัดปากมากๆ

วิธีฝึก 
ทุกครั้งที่เราจะพูดคำควบกล้ำในบทสนทนาทั่วไปให้เราลองออกเสียงให้ชัด
ไม่จำเป็นว่าเริ่มฝึกปุ๊ป เราจะต้องพูดทุกคำได้ชัดเจนนะ
เช่น ประโยค "เมื่อวานกลับบ้านไป รู้สึกเหมือนมีใครมาจัดโต๊ะให้ เพราะของบนโต๊ะอยู่ไม่ครบ"
ให้เริ่มจากลองพูด "เมื่อวานกลับบ้านไป รู้สึกเหมือนมีใคมาจัดโต๊ะให้ เพาะของบนโต๊ะอยู่ไม่ครบ"
พูดบ่อยๆเข้าเราจะเริ่มชิน แล้วเราจะเริ่มพูดคำอื่นๆเป็นเสียงควบกล้ำไปเอง

แนะนำว่าไม่ต้องนั่งท่องประโยคหรือฝึกออกเสียงอะไรเองที่บ้านเลย
แต่ให้ใช้โอกาสที่เราคุยกับเพื่อนในชีวิตประจำวันนี่แหละในการฝึก
ที่สำคัญคือเราต้องรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังจะพูดคำที่มีเสียงควบกล้ำออกไป
เราจะได้เตรียมลิ้นในปากเราทัน555



ข้อ 2 : พูดให้ช้าลง

เรามักจะพูดเร็วเวลาเราออกไปพรีเซ้นต์
นั่นเพราะเราติ่นเต้น พอตื่นเต้นเราก็อยากให้มันจบเร็วๆ เราก็เลยพูดเร็ว

ข้อเสียของการพูดเร็วคือ เราจะมีโอกาสพูดผิด และพูดรวบสูง ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจเรา
แต่ข้อเสียที่สำคัญเลยก็คือ บางครั้งมันทำให้เรื่องที่เราพูดดูเป็นเรื่องที่ไม่น่าฟังได้
เพราะผู้ฟังประมวลผลสิ่งที่ได้ยินไม่ทันนั่นเอง

ถ้าเราเป็นคนที่ เล่าข้ามข็อต เล่าไปแล้วต้องกลับมาเล่ารายละเอียดใหม่
นั่นแสดงว่าเราเป็นคนพูดเร็วกว่าที่เราคิด
ให้เราค่อยๆคิด แล้วค่อยพูดออกมา
ให้มันมีช่องว่างบ้าง แต่แน่นอนว่าไม่ใช่เงียบしん~ไปเลย แต่ให้เงียบเพื่อคิดได้บ้าง
เรามักกลัวที่จะหยุดเงียบ เพราะการเงียบนานๆ จะทำให้เราดูไม่ดี
แต่จริงๆแล้วช่องว่างมันไม่ได้นานเท่าที่เราคิดหรอก
ใครเคยมีประสบการณ์แบบนี้บ้าง?
เรากำลังอัดเสียงตัวเองพูดอะไรซักอย่าง แล้วอยู่ๆเราเกิดนึกคำไม่ออกตอนที่กำลังอัด
เราก็เงียบๆไปแป๊ปนึง ละพอนึกได้ก็พูดต่อ
ตอนนั้นเราก็จะรู้สึกว่า โอ้ย ไม่ดีเลย ตะกี้หยุดพูดไปตั้งนาน
แต่พอเราลองเปิดฟัง เรากลับรู้สึกว่า เห้ย มันก็ไม่ได้หยุดไปนานจนน่าเกลียดขนาดนั้นนี่หน่า
เพราะว่าจริงๆแล้ว เวลาที่เราพูด นาฬิกาในหัวเราจะเดินเร็วกว่าความเป็นจริง

วิธีฝึก
โดยลองแบ่งจังหวะการพูดดู ลองดูพวก TED Talk ว่าเขา Pause กันอย่างไรบ้าง และลองแบ่งตาม
ที่สำคัญคือฝึกใจให้เย็น ไม่ต้องรีบพูดทุกอย่างภายใน 1 ลมหายใจ
ลองฝึกในการเล่าเรื่องให้เพื่อนฟังทั่วๆไป
เช่น 「この話は主人公が二人いる。その二人が恋人みたいで女の子と男の子がいる。」
ให้ลองแบ่งเป็น 「この話は、主人公が二人いる。その二人が、恋人みたいで、女の子と男の子がいる。」



ข้อ 3 : พูดให้ดังกว่าปกติ

แน่นอนว่าถ้าผู้ฟังไม่ได้ยิน ทุกอย่างที่เราพูดออกไปก็ไปไม่ถึง100%
แต่จะให้ตะโกนเลยก็ไม่ใช่จริงไหม
แล้วเราจะควบคุมเสียงประมานไหนดี

วิธีฝึก 
ข้อนี้เราต้องฝึกที่บ้านค่ะ ให้เราลองพูดบทพรีเซ้นต์ของเราในห้องนอนที่ปิดประตู
จากนั้นอัดเสียงพูดด้วยเสียงธรรมดาของเราก่อน 1 คลิป
รอบที่ 2 ขณะที่เราอัดเสียงพูดบทพูดของเรา
ให้เราใส่หูฟังฟังเพลงที่ไม่มีเนื้อร้องด้วยความดังต่ำกว่าที่เราฟังปกติ 2-3 ระดับ
นี่จะทำให้เราพูดดังกว่าปกติ และทำให้เราไม่ได้ยินเสียงที่ดังน่ารำคาญของตัวเองค่ะ555
จากนั้นนำคลิปสองอันมาเทียบกัน เพื่อดูว่าเราอยากได้ความดังระดับไหน
ถ้าอยากได้ดังกว่าคลิปแรก แต่เบากว่าคลิปที่สอง ก็ฝึกโดยลดระดับความดังหูฟังลงมา
แต่ถ้าเทียบทั้งสองคลิปแล้วยังอยากได้เสียงที่ดังกว่านี้ ก็ฝึกโดยเพิ่มระดับเสียงหูฟังค่ะ
พอได้ระดับที่ต้องการแล้ว ให้ฝึกโดยถอดหูฟัง และกลับมาฝึกอีกวันถัดไปเพื่อให้สมองจำระดับเสียงได้อัตโนมัติ





. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
เราเองก็เป็นคนที่พูดไม่ชัด ไม่ออกเสียงควบกล้ำ พูดรวบ พูดเร็วเป็นธรรมชาติและเราเองก็โดนดุอยุ๋บ่อยๆว่าทำไมถึงพูดไม่ชัด พูดเร็ว นู่นนี่นั่น
จนกระทั่งเราประสบอุบัติเหตุแล้วทำให้เราหูดับไปข้างหนึ่ง
หลังจากนั้นเรากก็เป็นคนที่ได้ยินทุกอย่างเบาลงกว่าปกติประมาน40%
สมมติว่าเรายืนห่างจากคนพูด1เมตร เสียงที่เราได้ยินก็จะเป็นเสียงที่คล้ายกับเรายืนอยู่ที่ระยะ 2 เมตรห่างจากผู้พูด
มันเลยทำให้เราฟังอะไรได้ยากกว่าคนปกติ
สิ่งที่เคยคุ้นและเห็นว่า พูดแบบนี้ก็ไม่เห็นจะเป็นไรเลย ใครๆก็เข้าใจ
กลับกลายเป็นสิ่งที่ฟังยากและไม่อยากฟัง
แต่พอได้ฟังคนที่พูดชัดถ้อยชัดคำ พูดช้าเป็นจังหวะ พูดเสียงฟังชัด
มันกลับทำให้เราสบายใจที่จะคุยกับคนๆนั้น
เราก็เลยเข้าใจว่า สิ่งที่โดนดุมาตลอดมันเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ฟังได้ยินเราชัดเจนมากขึ้น
ไม่ใช่แค่กับคนที่ได้ยินเราชัดเจน แต่สำหรับคนที่ได้ยินไม่ชัด ซึ่งอาจจะเป็นคนที่นั่งหลังห้อง
คนต่างชาติ ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่คนที่การได้ยินผิดปกติด้วย


Comments

  1. なるほど!เรื่องพูดเสียงดังไม่เคยตระหนักมาก่อนเลย จริงๆแล้วเป็นเรื่องสำคัญนะคะ เรื่องพูดช้าและชัด ยากจริงๆ (เป็น 課題 ของตัวเองเหมือนกัน (早口問題)) เคยได้ยินว่าถ้าเรามี 意識 ตอนออกเสียงโดยพยายามขยับริมฝีปากให้กว้างขึ้นในแนวตั้ง(ไม่ใช่แนวนอน) (口の形を縦に大きく開ける)จะทำให้พูดได้ช้าและเสียงดังขึ้นโดยอัตโนมัติ คราวหน้าในชั้นเรียนจะให้ดูวิธีการฝึกแบบนี้ในชั้นเรียนนะคะ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ใช่ค่ะ ถ้าเรา意識ว่าต้องพูดให้ชัด เราจะอ้าปากกว้างขึ้นเองโดยธรรมชาติ การออกเสียงในภาษาไทยของเราเห็นชัดนะคะอาจารย์ เพราะสระเราเยอะมาก จะพูดเสียงสระแต่ละตัวให้ชัดๆยิ่งต้องเคลื่อนไหวทั้งปากทั้งฟันมาก

      Delete
  2. ขอบคุณสำหรับเทคนิคดีๆนะคะ เห็นด้วยเรื่องTED Talk นี่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ นอกจากเราจะได้ความรู้หรือข้อคิดจากแต่ละคลิปแล้ว เรายังได้ดูวิธีการพูด การแสดงgesture ของแต่ละคนอีกด้วยเนอะ ได้ประโยชน์สองต่อเลย

    ReplyDelete

Post a Comment

Popular Posts