How to Story-telling

เชื่อว่าทุกคนคงเคยเล่าเรื่องให้คนญี่ปุ่นฟังกันอยู่แล้ว
แต่เราเคยสังเกตหมว่าภาษาที่เราใช้มันคล้ายกับที่คนญี่ปุ่นใช้เวลาเล่าเรื่องหรือไม่
หรือเราเคยสังเกตไหมว่า บางครั้งเขาก็ไม่เก็ตอารมณ์ที่เราอยากถ่ายทอด
วันนี้เลยจะมาพูดกันว่า


เล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นอย่างไรให้คนญี่ปุ่นฟังแล้วรู้สึกสนุกตาม

ข้อแรก : คำช่วยท้ายประโยคจะช่วยให้ประโยคฟังดูเป็นธรรมชาติ

คำช่วยท้ายประโยค หรือ文末助詞คือคำช่วยที่เติมท้ายประโยค 
ไม่ได้มีความหมายชัดเจนในตัวมันเอง แต่จะใช้เพื่อบอกอารมณ์ของผู้พูดที่มีต่อประโยคนั้น 
คำช่วยพวกนี้มีหลายอย่าง เช่น 
 よ ใช้บอกสิ่งที่อีกฝ่ายไม่น่าจะรู้
 ね ใช้บอกสิ่งที่รู้กันทั้งสองฝ่าย
 の ใช้เพื่อเพิ่มหรือเน้นข้อมูล

文末助詞เหล่านี้จะช่วยให้ตัวตนหรืออารมณ์ความรู้สึกของผู้เล่า เข้าไปมีส่วนในการเล่า ทำให้เรื่องฟังดูใกล้ตัวและมีมิติมากขึ้น
ยกตัวอย่างประโยค เช่น 

(A)その子が、実は、整形でそういう綺麗になった。
(B)その子が、実はね、整形でそういう綺麗になったの。

จะเห็นว่าประโยค(A)เหมือนเป็นประโยคที่พูดถึงFactแบบเรียบๆ คือผู้พูดไม่ได้เอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับประโยค
ในขณะที่ประโยค(B)ผู้พูดใส่อารมณ์เพื่อเน้นข้อมูลเรื่องศัลยกรรมให้อีกฝ่ายตระหนักผ่านคำช่วย の ท้ายประโยค
ดังตัวอย่างในภาพด้านบน


ข้อสอง : ถามผู้ฟัง แทนที่การให้ข้อมูลฝ่ายเดียว

การถามความเห็นจากผู้ฟังนี้ เราเรียกว่า メタ言語 ซึ่งหมายถึงระดับที่อยู่เหนือตัวภาษา
การถามที่ว่าจะเป็นการดึงเอาผู้ฟังเข้ามามีส่วนร่วมในการเล่าเรื่องด้วย
ทำให้ผู้ฟังถูกกระตุ้นให้สนใจในเรื่องที่เราจะเล่าได้มากขึ้น

เช่น  彼が何したと思う?
     ここで何が起こったと思う?

แต่ข้อควรระวังก็คือ ไม่ใช่ว่าจะถามได้ทุกที่
เช่นเปิดมาแล้วจะถามว่า この話は主人公が何人いると思う?เลยก็ไม่ได้จริงไหม
ต้องอย่าถามบ่อยเกินไป ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ในจุดที่เราจะเน้น เช่น ช่วงก่อนเข้าสู่จุด Climax ของเรื่อง
ดังตัวอย่างในภาพด้านบน



ข้อสาม : อย่าเล่า Climax ให้จบภายในประโยคเดียว

จุด Climax เป็นส่วนที่ควรเน้นมากที่สุดของเรื่อง ดังนั้นมันจึงควรเป็นส่วนที่เราเล่าอย่างละเอียดที่สุด
เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆของเรื่องแล้ว เราอาจจะเล่าส่วนอื่นอย่างข้ามๆ หรือเล่าแบบไม่ลงรายละเอียด
แต่เมื่อมาถึงจุด Climax เรามักจะลงรายละเอียดเพื่อให้สิ่งนั้นเด่นขึ้นมา
การเล่ารายละเอียดนี้จะช่วยให้เรายืดระยะของ Climax ออกไปได้อีกด้วย
แล้วมันสำคัญอย่างไร?
เราลองเปรียบเทียบตัวอย่างที่ไม่ดีกับ ส่วนสีฟ้าจากตัวอย่างในรูปด้านบน(ตัวอย่างที่ดี) ดู

(A)彼氏側は、その写真を見て、なんか平気みたいで、いやいや大丈夫だよって、言ってくれたの。それで、「だって僕も実はカツラかぶってるからだよ」と言った。

(B)彼氏側は、その写真を見て、なんか平気みたいで、いやいや大丈夫だよって、言ってくれたの。しかし、男の子はニコニコして、自分の髪の毛に手を持っていって、何したと思う?なんと、カツラをとっちゃったんだよ。そしたら、「僕も一緒だよ」って言ってくれた。

จะเห็นว่าตัวอย่าง(A)เฉลยClimaxเร็วมากโดยจบภายใน 1 ประโยค นอกจากจะทำให้ผู้ฟังจับไม่ทันว่านี่คือจุด Climaxของเรื่องแล้ว และยังทำให้ไม่มีจังหวะให้คนฟังลุ้นตามอีกด้วย
แต่ในตัวอย่าง(B)เราจะเปิดช่องว่างให้ผู้ฟังลุ้นตาม โดยเล่ารายละเอียดหรือท่าทางของตัวละคร เพื่อเป็น Hint ให้กับผู้อ่าน ให้เขาได้คิดภาพตามและลุ้นไปกับเราได้





เอาจริงๆทุกสิ่งที่พูดมาทั้งหมด เราเชื่อว่าเราทำมันเป็นธรรมชาติโดยไม่รู้ตัวอยู่แล้วในภาษาไทย
เพียงแต่พอเราแปลมันเป็นภาษาญี่ปุ่นแล้วพูดออกมา ความที่เราต้องกังวลเรื่องคำศัพท์ แกรมม่า หลายๆอย่าง ทำให้เราลืมใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆน้อยเหล่านี้ไป พอได้ลองทำได้ลองเช็คตัวเองก็ทำให้รู้ว่า เออ จริงๆปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าเราไม่รู้ แต่อยู่ที่ว่าเรามัวแต่ไปกังวลจนลืมเอามันออกมาใช้ต่างหาก
ตั้งแต่นั้นมา พอจะเล่าเรื่องอะไรก็คอยเช็คตัวเองตลอด และต่อไปนี้ก็คงจะคอยมอนิเตอร์ตัวเองมากขึ้นเช่นกัน

Comments

  1. blog นี้มีตัวอย่างชัดเจน เปรียบเทียบให้เห็นชัด ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ ดีมากค่ะ คำท้ายประโยค の อธิบายลำบากนะคะ ใช้ の แล้วเหมือนอยากจะ "อธิบายหรือเชื่อมข้อมูลเข้ากับสถานการณ์" อย่าง 実は、、、のตามที่หนูยกตัวอย่างมา อธิบายว่าเป็นเพราะ.ไปทำศัลกรรมมาน่ะ(อ่ะ) บางครั้งคล้ายกับตัว "น่ะ อ่ะ" ในภาษาไทย คือเชื่อมระหว่างคำอธิบายว่า "ไปทำศัลยกรรม" กับสถานการณ์ว่า (ก็เลย) "สวยขึ้น"

    ReplyDelete

Post a Comment

Popular Posts