相手がコツ!

ทำอย่างไรจึงจะทำ PowerPoint ได้ดี???

หลายคนอาจจะเคยเรียนหรือเคยได้ยินมาหลายอย่าง เช่น
- อย่าใส่ตัวหนังสือเยอะเกินไป
- เลือกสีที่เห็นชัด
- ใส่รูปภาพเยอะๆ
- ใช้ฟ้อนใหญ่ๆ
- ใส่อนิเมชั่นด้วย
บลาๆ มีเยอะแยะเต็มไปหมด
แล้วพอจะทำพาวเวอร์พอยท์ทีนึงก็เครียดว่า
ตรงนี้เยอะไปไหม ตรงนี้เล็กไปรึป่าว ใช้สีอะไรดี
นั่งเครียดอยู่คนเดียวเป็นชั่วโมงๆเพราะกฎที่เรียนมาพวกนี้

วันนี้เราเลยอยากจะบอก
เคล็ดลับง่ายๆ 3 ข้อ ที่จะช่วยให้สไลด์เราออกมาดี

ข้อ 1 : กฎ 8 วินาที


เราจะทำสไลด์ออกมายังไงก็ได้ตามใจเราเลย
แต่ภายในระยะเวลา 8 วินาทีต่อ 1 สไลด์
คนฟังจะต้องเข้าใจสิ่งสำคัญที่สุดในสไลด์นั้นให้ได้
และสิ่งๆนั้นต้องเป็นจุดสำคัญจุดเดียวกับที่ผู้พูดตั้งใจไว้ด้วย
นั่นหมายความว่า เรายังไม่ต้องสนว่าผู้ฟังจะเข้าใจรายละเอียดปลีกย่อยในสไลด์นั้นหรือไม่
แต่ภายใน 8 วินาที ผู้ฟังจะต้องจับสิ่งสำคัญที่สุดในสไลด์ 1 แผ่นนั้นให้ได้

ดังนั้น เราต้องคอยเช็คเสมอว่า
เราต้องการจะสื่ออะไรมากที่สุดในแต่ละสไลด์
ผู้ฟังสามารถจับสิ่งนั้นได้ภายในเวลาแวบเดียวหรือไม่
สิ่งที่ผู้ฟังจับได้ภายในเวลาแวบเดียวนั้น ตรงกับสิ่งที่เราต้องการบอกหรือไม่

เพียงแค่เรานึกถึง 3 เช็คลิสต์นี้ไว้ตลอดและพยายามสร้างสรรค์วิธีที่จะทำให้ทุกๆสไลด์เป็นตามนี้
เราเชื่อว่าทุกคนจะสามารถสร้างพาวเวอร์พอยท์ที่ดีออกมาได้โดยอัตโนมัติ
ไม่ต้องมานั่งเปิดตำรากฎข้อห้ามให้เครียดอีกต่อไปเลย



ข้อ 2 : กฎSandwich


เราต้องเข้าใจก่อนว่าผู้ฟังมักจะสนใจเราในตอนต้นและตอนท้ายของพรีเซนต์
สิ่งนี้เป็นธรรมชาติของผู้ฟังทุกคน
เพราะตอนเริ่ม ผู้ฟังจะตื่นเต้นว่าผู้พูดจะพูดเรื่องอะไร
พอริ่มฟังๆไปแล้วไม่รู้เรื่อง ความสนใจก็จะลดลง
และตอนท้ายก็จะกลับมาตื่นเต้นอีกครั้งว่า พรีเซนต์จบซะที
ดังนั้นผู้ฟังจึงมักจะจำสิ่งที่อยู่ตอนต้นและตอนท้ายได้มากกว่าส่วนอื่นๆ

พอเรารู้อย่างนี้แล้ว เราก็ต้องเอาธรรมชาติตรงนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์

กฎข้อนี้ง่ายมากๆเลย คือเช็คว่า 
เราเอาสิ่งที่ใช้เริ่มในตอนต้น มาใส่เป็นข้อสรุปอีกครั้งในตอนท้ายสุดหรือไม่

เช่น ในการพรีเซนต์เรื่องความแตกต่างระหว่างคำช่วยにและへ
หากเราเริ่มต้นการพรีเซนต์โดยการตั้งคำถามว่า
"รู้หรือไม่ว่าประโยค「パラゴンに行きます」กับ「パラゴンへ行きます」ต่างกันอย่างไร"
ไม่ว่าตรงกลางของการพรีเซนต์เราจะพูดทฤษฎีเกี่ยวกับคำช่วยอะไรก็ตาม
เราต้องจบการพรีเซนต์ด้วยคำตอบของคำถามในตอนแรกด้วย
เช่นสรุปการพรีเซนต์ว่า
"ดังนั้นความแตกต่างระหว่างประโยค「パラゴンに行きます」กับ「パラゴンへ行きます」คือ
「パラゴンに行きます」หมายถึง ผู้พูดจะไปยังห้างพารากอน แต่
「パラゴンへ行きます」หมายถึง ผู้พูดจะไปทางพารากอน ซึ่งอาจไม่ได้ไปยังห้างก็ได้"
เป็นต้น



ข้อ 3 : ให้คนอื่นเช็คให้

ในบรรดาเช็คลิสต์ทุกข้อที่กล่าวไปข้างบน เราไม่ควรเป็นคนเช็คเอง
เพราะเราจะมีข้อมูลอยู่แล้วในหัว เราจะเข้าข้างตัวเอง
ดังนั้น พอเราทำเสร็จแล้ว เราลองไปเปิดให้คนอื่นดู
ดูว่าเขาเข้าใจจริงหรือไม่
ดูว่าภายใน 8 วินาทีหากเราไม่อธิบายอะไร เขาจะรู้หรือไม่ว่าเราต้องการจะเน้นอะไรที่สุดในสไลด์นั้น
ดูว่าเขารู้หรือไม่ว่าเราถามคำถามอะไรตอนต้นและตอบคำถามอะไรตอนท้าย

ถ้าเช็คลิสต์ทุกข้อโอเคแล้วก็ถือว่าผ่าน
ถ้ายังไม่โอเค ก็ลองทบทวนดูว่าปัญหาคืออะไร เราจะแก้ตรงไหนได้
.
.
.
.
.
.
จะเห็นว่าเคล็ดลับทุกข้อที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่เราอ้างอิงผู้ฟังเป็นหลัก
คือเอาความสะดวกสบายของผู้ฟังเป็นเกณฑ์วัดว่าสไลด์ของเราควรจะออกมาเป็นแบบใด
ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบใด หากเราคำนึงถึงคนรับสาร
เราก็จะสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และผู้รับสารก็จะได้สารครบถ้วนตามที่เราต้องการอีกด้วย









Comments

  1. กฎ 8 วินาทีน่าสนใจนะคะ สงสัยว่าทำไมจึง 8 วินาที ไม่ใช่ 7 หรือ 9 มีการอธิบายไว้ไหมคะ กฏ sandwich ก็สำคัญ ทำได้ง่ายด้วย ส่วนกฎให้คนอื่นเช็คก็ดีนะคะ คนอื่นเป็นกระจกส่องให้เรา

    ReplyDelete
  2. โหห ไม่รู้เรื่องกฏ 8 วิ มาก่อนเลย
    8 วิเองอะน้อยมากๆ สงสัยเราต้องปรับปรุงสไลด์ให้เข้าใจง่ายกว่านี้แล้ว เด๋วคนจับใจความไม่ทัน555

    ReplyDelete

Post a Comment

Popular Posts