Why Linguistic?

เรียนภาษาศาสตร์ประยุกต์แล้วได้อะไร?
ทำไมถึงชอบเรียนภาษาศาสตร์?

เราเป็นคนชอบเรียนวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก 
ตอนป.6 เคยได้คะแนนสอบวิชาวิทย์สูงสุดของสายด้วยนะ 5555 
แต่ด้วยความที่เราเป็นคนไม่ชอบเรียนคณิต 
พอต้องเลือกสายตอนม.4 เราก็เลยเลือกเข้าสายศิิลป์ภาษาและผันตัวมาเป็น"พวกสายศิลป์"ในที่สุด
สำหรับเรา เรารู้สึกว่าภาษาศาสตร์เป็นวิชาที่ผสมความเป็นวิทย์และศิลป์ไว้ด้วยกัน 
เพราะมันมีทั้งการทดลอง มีกฎ และทฤษฎีมากมายให้เราได้เรียนรู้ 
แต่ขณะเดียวกันเราก็ไม่อาจเข้าใจภาษาใดภาษาหนึ่งได้หากขาดจินตนาการและทักษะการเชื่อมโยง 

เอาจริงๆตอนเราลงวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ เราก็ไม่ได้คาดหวังว่าเราจะได้อะไรหรอก 
เหมือนลงไปเพราะเห็นว่ามันเป็นวิชาภาษาศาสตร์แค่นั้น
เพราะฉะนั้นเราก็เหมือนมาเรียนแบบหัวว่างๆ 
แล้วกอบโกยสิ่งที่อาจารย์สอนใส่สมองกลับไป 555  

มันเลยทำให้เราได้อะไรจากวิชานี้ค่อนข้างเยอะ
แต่สิ่งที่เราได้จากวิชานี้มันจะไม่เหมือนสิ่งที่ได้จากพวกวิชาสนทนา 
ที่เราสามารถตอบได้ทันทีว่า วิชานี้ทำให้เราพูดภาษานั้นเก่งขึ้น 
เพราะเป้าหมายของวิชาสนทนาคือทำให้นักเรียนพูดได้ 
แต่วิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ เราเชื่อว่าเป้าหมายของมันไม่ได้ถูกกำหนดไว้ว่ามีกี่ข้อกี่ข้อ 
เอาจริงๆอาจจะไม่ได้กำหนดด้วยซ้ำ เพราะมันเปิดกว้างมากๆ 
ถ้าให้เปรียบ มาเรียนวิชานี้ก็เหมือนมาเดินตลาด มีนู่นนี่นั่นเยะแยะเต็มไปหมด 
อยู่ที่ว่าใครจะหยิบเอาอะไรกลับไปมากกว่า 

ส่วนตัวเรา เราหยิบสิ่งที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า "ทฤษฎีการรับภาษาที่สอง" ออกมาซะส่วนใหญ่ ธรรมชาติของการรับรู้ภาษาที่สองมีด้วยกันหลายทฤษฎีมาก เช่น 

- ผู้เรียนภาษาที่สองแต่ละคนจะสร้างกฎทางภาษาขึ้นมาใช้เอง
- ยิ่งเรียนมากไม่ได้แปลว่าจะยิ่งเก่งขึ้นทางเดียว 
  บางครั้งการเรียนมากๆก็ทำให้ผู้เรียนสร้างข้อผิดพลาดมากขึ้นเช่นกัน
- ข้อผิดพลาดบางอย่างก็ไม่สามารถแก้ไขได้แม้ว่าผู้เรียนจะเข้าใจแล้วก็ตาม
- หากเปรียบเทียบวิธีการใช้ภาษาของผู้เรียนกับเจ้าของภาษาแล้ว
  ก็จะรู้ได้ว่ามีส่วนไหนที่ผู้เรียนยังทำไม่ได้ หรือทำผิดอยู่บ้าง 
  ทำให้สามารถนำส่วนนั้นมาใช้เน้นในการสอนได้ถูกจุด
- ข้อผิดพลาดที่ผู้เรียนพลิตออกมา บางครั้งมาจากอิทธิพลภาษาแม่ 
  เช่น ผู้เรียนออกเสียง し/ち/じ เป็นเสียงเดียวกัน ก็อาจเดาได้ว่า 
  ผู้เรียนไม่เข้าใจความแตกต่างของเสียง หรือไม่สามารถผลิตเสียงนั้นออกมาได้ 
  ซึ่งอาจเกิดจากอิทธิพลของภาษาแม่ที่ไม่มีการแบ่งแยกความแตกต่างของเสียงเหล่านั้น 
  

สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์กับเรามาก เพราะตอนนี้เราเองก็กำลังสอนภาษาที่สองให้คนอื่นอยู่เช่นกัน
เราตอยากให้นักเรียนของเราได้เรียนอย่างเกิดผลที่สุด เลยเอาทฤษฎีพวกนี้ไปลองใช้ควบคู่กับการสอนของเราดู ซึ่งพอเราเข้าใจธรรมชาติในการเรียนรู้ภาษาที่สองของคนทั่วๆไปแล้ว มันก็ช่วยให้เรารู้หลักในการสอนและรู้จักสังเกตผู้เรียนได้ดีมากขึ้น  ขณะเดียวกันเราก็ยังได้สังเกตธรรมชาติของตัวเราเองอีกด้วย เช่น สังเกตว่าทำไมเราถึงทำสิ่งนี้ได้ เรามีกฎเกณฑ์อะไรในหัวเรา เราถึงรู้ว่าตรงนี้ถูกตรงนี้ผิด และในทางกลับกัน เราจะสอนตัวเองอย่างไรให้ไม่ผิดในจุดที่เราผิด 

นอกจากนี้ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ทำให้เราอยากลุกขึ้นมา Inspire คนที่กำลังเรียนภาษาต่างประเทศเข้าใจว่า การที่เราทำตรงนี้ได้แต่ทำตรงนั้นไม่ได้ ทำผิดเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรียนมาตั้งนานแล้วแต่ก็พลาดเรื่องง่ายๆได้ ทำไมคนสองชาติเรียนภาษาเดียวกันแต่เก่งได้ไม่เท่ากัน ทั้งหมดล้วนเป็นธรรมชาติของการเรียนภาษาที่สองทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เราจะพูดผิดเขียนผิดในภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่ของตัวเอง แต่เมื่อเราเข้าธรรมชาติของเราแล้ว เราก็ต้องพยายามหาวิธีสอนตัวเองให้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นเทคนิคบางอย่างที่เราเข้าใจเพียงคนเดียว แต่มันก็ทำให้เราสามารถใช้ภาษาที่สองได้อย่างถูกต้อง สำหรับเรา สิ่งนี้เป็นการเรียนรู้ที่ติดตัวเราไปตลอด และส่งผลต่อตัวเรามากที่สุด

ของแถม :
วิดีโอข้างล่างนี้เป็น TED Talk ที่พูดถึงเรื่องการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่น่าสนใจมากๆอันหนึ่ง 
ถ้าใครมีเวลาลองดูนะ ได้ฝึกฟังภาษาอังกฤษไปในตัวด้วย

Comments

  1. เหมือนเป็นข้อความโฆษณาวิชานี้เลย 555 ขอบคุณค่ะ ดีใจที่เนื้อหาวิชานี้ทำให้นำไปใช้ต่อได้ TED TALK ที่ลงสนุกดีนะคะ เราต้องเรียนภาษาโดยเชื่อมโยงเข้ากับประสบการณ์ สร้างให้เกิดความเชื่อมต่อ ความจำเป็น(ที่ต้องใช้) ความสนใจ(ที่มี) สภาพแวดล้อม ทำให้เราเรียนรู้ได้ดี เขาพูดตรงตามทฤษฎีที่เราเรียนกันมาเลย!

    ReplyDelete
  2. こんにちは、
    すごくいろいろとしっかり考えているなと思いました。
    わたしも大学生のときに言語(マレー語や広東語ですね)を学びながら第二言語習得などの授業を受けたことがありましたが、自分の言語習得に結び付けて考えることはできませんでした。
    言語学の授業が学習者や指導をする立場としての自分にそのままつながっていくのはすごいことだな、すばらしいなと思いました。

    ReplyDelete

Post a Comment

Popular Posts