What we do but Japanese people don't
อยากให้ทุกคนลองนึกเล่นๆว่า
ถ้าเราต้องเขียนอธิบายวิธีเดินทางให้คนญี่ปุ่นโดยใช้ภาษาญี่ปุ่น
โดยเดินทางจากสถานีช่องนนทรีมายังตึกบรมราชกุมารีคณะอักษรศาตร์
เราน่าจะเขียนออกมาประมานไหน
ถ้าใครว่างจะลองเขียนออกมาเลยก็ได้
ส่วนนี่คือสิ่งที่เราเขียนออกมาในตอนแรก
ถ้าเราต้องเขียนอธิบายวิธีเดินทางให้คนญี่ปุ่นโดยใช้ภาษาญี่ปุ่น
โดยเดินทางจากสถานีช่องนนทรีมายังตึกบรมราชกุมารีคณะอักษรศาตร์
เราน่าจะเขียนออกมาประมานไหน
ถ้าใครว่างจะลองเขียนออกมาเลยก็ได้
ส่วนนี่คือสิ่งที่เราเขียนออกมาในตอนแรก
まずはチョンノンシー駅で26バーツの電車切符を買って改札口に入ってください。ここで気をつけてほしいのは、左右にどちらかTo National Stadiumと書いてある方面看板があることです。その方面に向かって電車に乗ってください。そしてチョンノンシー駅から3つ目のSiam駅で降りましょう。電車を降りて6番出口の改札まで来てください。改札口を出るとすぐKarmartの店が見えます。その方向に向かって、お店の側の道を50メートルくらい歩いて、一番目の階段で降りましょう。階段を降りてそのまままっすぐ道路に沿って歩いて来てください。800メートルくらい歩いて、右手にお寺のような建物が見えるとその入口に入って来てください。入ってくると、すぐに食堂、そしてその側にMahachakrisirindhornビル、その次には真っ白のビルが順番に見えてきます。その真っ白のビルがBRKビルです。
ของทุกคนมีส่วนไหนเหมือนหรือต่างจากของเราไหม
หรือว่ามีใครสังเกตเห็นข้อบกพร่องของเราบ้างหรือเปล่า
ของทุกคนมีส่วนไหนเหมือนหรือต่างจากของเราไหม
หรือว่ามีใครสังเกตเห็นข้อบกพร่องของเราบ้างหรือเปล่า
ถ้าสังเกตเห็นเราต้องขอแสดงความยินดีด้วย
เพราะบอกตรงๆว่าเราไม่เห็นข้อผิดพลาดของตัวเองเลยจริงๆในตอนที่ส่งการบ้าน
พออาจารย์ตรวจแล้วส่งคืนกลับมา
เราก็เพิ่งจะรู้ตัวว่าผิดเยอะขนาดนี้
แต่ถึงกระนั้น อาจารย์ก็ไม่ได้บอกเราว่าควรแก้สิ่งที่ผิดนั้นเป็นอะไร
บอกแค่ว่ามันผิดนะ แล้วให้เราไปหาสิ่งถูกเอาเอง
เราก็เลยต้องลงมือแก้ด้วยตัวเอง
เราก็ใช้วิธีเดิมของเราเลย
นั่นก็คือ เอาบทความบอกทางของคนญี่ปุ่น(ไม่ต้องสถานที่เดียวกันก็ได้)มาเทียบดูกับของเรา
เราพบว่าบางประโยคที่เราเขียนไป คนญี่ปุ่นกลับไม่ได้พูดแบบนี้ เลยกลายเป็นหัวข้อว่า
สิ่งที่เราทำแต่คนญี่ปุ่นไม่ทำ
1. คำว่า まずは
คำนี้เป็นคำที่เราชอบใช้มากคำหนึ่ง เพราะเวลาเราต้องการจะเริ่มพูดถึงเรื่องอะไรสักอย่าง การบอกว่า "ก่อนอื่น..." "ขั้นแรก..." มันเป็นการบอกลำดับเหตุการณ์ที่ดี และจากที่ลองเปรียบเทียบดู เราพบว่าคนญี่ปุ่นก็ชอบใช้คำนี้ไม่แพ้กับที่เราชอบใช้เลย เพียงแต่ เมื่อไหร่ที่มีคำว่า まずは โผล่มาปุ๊ป คนญี่ปุ่นจะคาดเดาไปล่วงหน้าว่าจะต้องพบคำว่า 次に และ 最後に ตามมาอย่างแน่นอน ซึ่งเราไม่ได้ใช้สองคำนี้ในบทความข้างต้นของเราเลย เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะแก้เป็น
まずは、チョンノンシー駅で26バーツの電車切符を買って改札口に入ってください。... 次に、チョンノンシー駅から3つ目のSiam駅で降りましょう。... 最後に、右手にタイ風のお寺のような建物が見えたらすぐその入口に入ってください。...
2. พูดจากมุมมองคนอ่าน(คนเดินทาง)
การพูดจากมุมมองคนอ่านคืออะไร? การพูดการมุมมองคนอ่านคือ เราพูดในฐานะที่เราเป็นคนที่กำลังเดินทางไปยังจุดหมาย ไม่ใช่พูดในฐานะคนเดินนำหน้าเขา หรือพูดในฐานะที่เราอยู่ที่จุดหมายเรียบร้อยแล้ว
ลองดูตัวอย่างตามตารางด้านล่างประกอบ
หลักข้อนี้อาจจะยากหน่อย อย่างน้อยก็ยากสำหรับเรา เพราะคนไทยเราสามารถบอกทางคนอื่นโดยพูดว่า "เข้าประตูมาแล้วจะเจอป้าย" หรือ "เดินมาจนถึงบันไดแล้วให้เลี้ยวซ้าย" ได้ แต่การพูดด้วยมุมมองคนนำนี้ไม่พบในตัวบทที่คนญี่ปุ่นเขียนเลย ข้อนี้อาจารย์บอกว่า เป็นเพราะมุมมองการพูดของเราและคนญี่ปุ่นไม่เหมือนกัน ดังนั้นประโยคที่จึงควรแก้เป็น
電車を降りて6番出口の改札まで行ってください。... 右手にお寺のような建物が見えるとその入口に入って来てください。入ってくると、...
อื่นๆ
มีบางประโยคที่เราไม่รู้ว่าจะพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นยังไง
และไม่สามารถหาประโยคใกล้เคียงจากตัวอย่างของคนญี่ปุ่นได้
เช่นประโยค 左右にどちらかTo National Stadiumと書いてある方面看板がある
ที่เราต้องการจะบอกว่า "ที่ทางด้านขวาหรือซ้ายจะมีป้ายบอกทางเขียนว่าTo National Stadiumอยู่"
เราจึงใช้วิธีถามเจ้าของภาษาโดยตรง
เราจึงเข้าไปที่ HiNative แล้วถามคำถามตามในรูป
หรือ 左手右手のどちらかにก็ได้ เราก็แค่เอาประโยคที่ชอบ ไปแก้ใส่ลงในบทความของเรา เท่ากับว่าได้เรียนรู้วิธีพูดแบบที่ไม่เคยรู้มาก่อนไปในตัวอีกด้วย!!!
เป็นยังไงกันบ้างกับบล็อกที่สอง หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนไม่มากก็น้อย
อยากให้ทุกคนได้อะไรกลับไปหลังอ่านจบจริงๆนะ 55555
ถือเป็นของตอบแทนเล็กๆน้อยๆที่อุตส่าห์เข้ามาอ่านบล็อกเรา
ถ้าใครมีข้อคำถามอะไร ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา หรือเรื่องอะไรก็ตาม คอมเม้นบอกกันได้เลยนะ
หรือถ้าอยากให้รีวิวแอพ HiNative ก็บอกกันเข้ามาได้
ขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบนะ แล้วเจอกันบล็อกหน้าจ้า
พออาจารย์ตรวจแล้วส่งคืนกลับมา
เราก็เพิ่งจะรู้ตัวว่าผิดเยอะขนาดนี้
แต่ถึงกระนั้น อาจารย์ก็ไม่ได้บอกเราว่าควรแก้สิ่งที่ผิดนั้นเป็นอะไร
บอกแค่ว่ามันผิดนะ แล้วให้เราไปหาสิ่งถูกเอาเอง
เราก็เลยต้องลงมือแก้ด้วยตัวเอง
เราก็ใช้วิธีเดิมของเราเลย
นั่นก็คือ เอาบทความบอกทางของคนญี่ปุ่น(ไม่ต้องสถานที่เดียวกันก็ได้)มาเทียบดูกับของเรา
เราพบว่าบางประโยคที่เราเขียนไป คนญี่ปุ่นกลับไม่ได้พูดแบบนี้ เลยกลายเป็นหัวข้อว่า
สิ่งที่เราทำแต่คนญี่ปุ่นไม่ทำ
1. คำว่า まずは
คำนี้เป็นคำที่เราชอบใช้มากคำหนึ่ง เพราะเวลาเราต้องการจะเริ่มพูดถึงเรื่องอะไรสักอย่าง การบอกว่า "ก่อนอื่น..." "ขั้นแรก..." มันเป็นการบอกลำดับเหตุการณ์ที่ดี และจากที่ลองเปรียบเทียบดู เราพบว่าคนญี่ปุ่นก็ชอบใช้คำนี้ไม่แพ้กับที่เราชอบใช้เลย เพียงแต่ เมื่อไหร่ที่มีคำว่า まずは โผล่มาปุ๊ป คนญี่ปุ่นจะคาดเดาไปล่วงหน้าว่าจะต้องพบคำว่า 次に และ 最後に ตามมาอย่างแน่นอน ซึ่งเราไม่ได้ใช้สองคำนี้ในบทความข้างต้นของเราเลย เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะแก้เป็น
まずは、チョンノンシー駅で26バーツの電車切符を買って改札口に入ってください。... 次に、チョンノンシー駅から3つ目のSiam駅で降りましょう。... 最後に、右手にタイ風のお寺のような建物が見えたらすぐその入口に入ってください。...
2. พูดจากมุมมองคนอ่าน(คนเดินทาง)
การพูดจากมุมมองคนอ่านคืออะไร? การพูดการมุมมองคนอ่านคือ เราพูดในฐานะที่เราเป็นคนที่กำลังเดินทางไปยังจุดหมาย ไม่ใช่พูดในฐานะคนเดินนำหน้าเขา หรือพูดในฐานะที่เราอยู่ที่จุดหมายเรียบร้อยแล้ว
ลองดูตัวอย่างตามตารางด้านล่างประกอบ
พูดจากมุมมองคนเดินนำหน้า
|
「入って来ると...」
|
「○○まで来て左折してください」
|
พูดจากมุมมองคนเดินทาง
|
「入って行くと...」
|
「○○まで行って左折してください」
|
หลักข้อนี้อาจจะยากหน่อย อย่างน้อยก็ยากสำหรับเรา เพราะคนไทยเราสามารถบอกทางคนอื่นโดยพูดว่า "เข้าประตูมาแล้วจะเจอป้าย" หรือ "เดินมาจนถึงบันไดแล้วให้เลี้ยวซ้าย" ได้ แต่การพูดด้วยมุมมองคนนำนี้ไม่พบในตัวบทที่คนญี่ปุ่นเขียนเลย ข้อนี้อาจารย์บอกว่า เป็นเพราะมุมมองการพูดของเราและคนญี่ปุ่นไม่เหมือนกัน ดังนั้นประโยคที่จึงควรแก้เป็น
電車を降りて6番出口の改札まで行ってください。... 右手にお寺のような建物が見えるとその入口に入って来てください。入ってくると、...
อื่นๆ
มีบางประโยคที่เราไม่รู้ว่าจะพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นยังไง
และไม่สามารถหาประโยคใกล้เคียงจากตัวอย่างของคนญี่ปุ่นได้
เช่นประโยค 左右にどちらかTo National Stadiumと書いてある方面看板がある
ที่เราต้องการจะบอกว่า "ที่ทางด้านขวาหรือซ้ายจะมีป้ายบอกทางเขียนว่าTo National Stadiumอยู่"
เราจึงใช้วิธีถามเจ้าของภาษาโดยตรง
เราจึงเข้าไปที่ HiNative แล้วถามคำถามตามในรูป
<--ก็จะมีเจ้าของภาษามาตอบให้เราอย่างนี้
สรุปว่าเราจะใช้ 左手か右手かどちらかに看板がある。หรือ 左手右手のどちらかにก็ได้ เราก็แค่เอาประโยคที่ชอบ ไปแก้ใส่ลงในบทความของเรา เท่ากับว่าได้เรียนรู้วิธีพูดแบบที่ไม่เคยรู้มาก่อนไปในตัวอีกด้วย!!!
เป็นยังไงกันบ้างกับบล็อกที่สอง หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนไม่มากก็น้อย
อยากให้ทุกคนได้อะไรกลับไปหลังอ่านจบจริงๆนะ 55555
ถือเป็นของตอบแทนเล็กๆน้อยๆที่อุตส่าห์เข้ามาอ่านบล็อกเรา
ถ้าใครมีข้อคำถามอะไร ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา หรือเรื่องอะไรก็ตาม คอมเม้นบอกกันได้เลยนะ
หรือถ้าอยากให้รีวิวแอพ HiNative ก็บอกกันเข้ามาได้
ขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบนะ แล้วเจอกันบล็อกหน้าจ้า
เรื่อง "มุมมอง" หรือการใช้ て行くหรือ て来る ที่ต่างกันน่าสนใจนะคะ ภาษาไทยของเราการใช้ ..ไป ...มา ดูจะกว้างกว่าภาษาญี่ปุ่นและหลวมกว่า อย่างที่หนูเขียน บางทีเราใช้คำว่า "มา" ทั้งๆที่การเคลื่อนไหวไม่ได้มุ่งมาสู่ที่ตัวผู้พูดบุรุษที่หนึ่งก็ได้(ซึ่งต่างกับภาษาญี่ปุ่นที่โดยส่วนใหญ่ต้องใช้เข้ามาที่ตัวผู้พูด)เช่น เพื่อนเรียกให้เราไปหา ถึงหน้าห้องเพื่อนแล้ว เพื่อนโทรศัพท์มาตาม เราก็ตอบไปว่า "เดี๋ยวๆ มาแล้วจ๊ะ" ได้ แต่อันนี้ภาษาญี่ปุ่นไม่พูด 来ます ต้องเป็น 行きますภาษาไทยจึงมีการใช้หลวมกว่า ไว้ครูจะอธิบายในห้องเรื่องที่หนูยกตย.ขึ้นมาต่อนะคะ น่าสนใจมากเลยค่ะ
ReplyDeleteเราชอบhinativeตรงที่ตอบเร็วมากอ่ะ แล้วก็ชอบตรงที่เค้าจะมีวิธีพูดแบบอื่นมาให้เราด้วย เหมือนได้เช็คความถูกต้อง ความเป็นธรรมชาติ แล้วก็เรียนรู้วิธีพูดแบบอื่นไปพร้อม ๆ กันเลย ><
ReplyDelete