'Omotenashi' of writing
'Omotenashi' of writing
ใ ส่ ใ จ ล ง ใ น ง า น เ ขี ย น
เชื่อว่าทุกคนคงเห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า "เวลาจะเขียนอะไรต้องคำนึงถึงผู้อ่านด้วย"
แต่คำพูดคำนี้มันฟังดูเป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้ อะไรส่วนใดบ้างที่เราต้องคำนึง
แล้วเราจะนำมาใช้ในทักษะการสื่อสารของเราอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
วันนี้เราเลยอยากเอาสิ่งที่เรียนในคลาสมาแชร์ให้ทุกคนฟังกัน
1. ผู้ฟังมีข้อมูลไม่เท่าผู้พูด
ทุกๆครั้งก่อนที่เราจะพูดหรือจะเขียนอะไร ให้เรานึกไว้เสมอว่า ผู้ฟังหรือผู้อ่านของเรามีข้อมูลไม่เท่าเรา บางสิ่งที่เรารู้ บางสิ่งที่เราคุ้นชิน อาจจะเป็นสิ่งแปลกใหม่ หรือเป็นสิ่งที่ผู้รับสารเพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรกในชีวิตก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเช่น หากเราบอกทางให้คนต่างชาติที่กำลังหลงทางแล้วเราพูดว่า
เดินขึ้นสกายวอล์คไปเดี๋ยวก็จะเจอเอง
ถ้าเป็นคนในพื้นที่นั้นก็อาจจะเข้าใจตรงกันว่าสกายวอล์คคืออะไร แต่สำหรับคนต่างชาติ หรือแม้แต่คนไทยที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่นั้น ฟังแล้วเค้าก็อาจจะงงได้ว่า สกายวอล์คคืออะไร ดังนั้น เราจึงต้องฝึกมองจากมุมมองผู้รับสารให้ได้ว่าจุดไหนที่คนอ่านอาจจะไม่เข้าใจ หรือจุดไหนที่คนฟังอาจจะตามเราไม่ทัน
2. ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และถูกกาละเทศะ
การให้ข้อมูลที่ดี เราควรให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับข้อมูล แต่แค่มีประโยชน์อย่างเดียวไม่พอ ต้องถูกกาละเทศะด้วย ฟังดูเหมือนเป็นประโยคเหน็บแนม แต่จริงๆแล้วคำว่าถูกกาละเทศะหมายถึง เหมาะสมกับสถานการณ์ หรือถูกที่ถูกเวลานั่นเอง ตัวอย่างเช่น เรากำลังบอกอยู่ว่าให้เดินไปทางนี้ ขึ้นไปสถานีรถไฟนี้ แล้วไปลงรถที่สถานีนี้ แล้วจู่ๆเราก็ให้ข้อมูลเช่น
สถานีนี้เป็นที่ตั้งอนุสรณ์ของเจ้าฮาชิ เพราะมันออกมารับเจ้านายของมันที่สถานีนี้เป็นประจำแน่นอนว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แต่ผู้รับสารอาจไม่จำเป็นต้องรู้ข้อมูลนี้ในการเดินทาง ดังนั้นเมื่อมองจากมุมผู้รับสารแล้ว ลักษณะดังกล่าวจึงเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกกาละเทศะ
วิธีแก้ของปัญหาลักษณะนี้ คือ ตัดทิ้งไปเลยค่ะ ไม่ต้องเสียดาย 555
3. บอกให้รู้อยู่เสมอว่าเรากำลังพูดถึงไหนแล้ว
การเรียบเรียงข้อมูลอย่างเป็นลำดับจะช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจและคิดตามเราได้ดีขึ้น แต่เวลาที่อธิบายอะไรบางอย่างเป็นที่ลำดับ 1234 เราก็ควรบอกผู้รับสารเสมอว่า ตอนนี้เรากำลังพูดถึงลำดับที่ 3 กันนะ เป็นต้น เพื่อที่ผู้รับสารจะได้รู้ว่า อ๋อ ตอนนี้เรามาถึงกลางทางแล้ว หรือ อีกนิดนึงก็ใกล้จะจบแล้ว
แต่ถ้าข้อมูลนั้นไม่ได้เป็นข้อมูลแบบที่เป็นข้อๆ 1234 เราก็สามารถทำได้โดยใช้คำสันธาน หรือ 接続詞
คำสันธานหลักๆก็เช่น まず、次に、最後にและอาจจะแทรกคำสันธานย่อยเช่น それから、すると、あと、そのあと、そして ลงไประหว่างประโยคย่อย
ข้อควรระวังในการใช้ 接続詞 ในภาษาญี่ปุ่นคือ ไม่ควรใช้คำเดียวกันซ้ำกันหลายครั้ง
เพราะจะทำให้ผู้รับสารเดาไม่ได้ว่าตนกำลังอยู่ส่วนไหนหรือลำดับที่เท่าไหร่ในสารนั้น ตัวอย่างเช่น
จะเห็นว่า เมื่อใช้คำว่า それから ซ้ำกันหลายครั้ง จะให้ความรู้สึกว่าผู้พูดพูดไปเรื่อยๆ ไม่จบซักทีまず改札を出てください。それから、左にまっすぐ進んでください。それから、駅の前の緑道に沿って歩いてください。それから、その緑道を200メートルほど進んでください。それから、赤い看板が見えてきたら、そこでお電話ください。
แต่หากลองแก้เป็น
まず改札を出てください。続いて、左にまっすぐ進んでください。すると、駅の前の緑道に沿って歩いてください。あと、その緑道を200メートルほど進んでください。最後に、赤い看板が見えてきたら、そこでお電話ください。คนอ่านจะสามารถจับจุดได้ว่า ตรงนี้เริ่มต้น ตรงนี้อาจยังมีข้อมูลอะไรโผล่มาอีก ตอนนี้ใกล้จะจบแล้ว อันนี้เป็นข้อความสุดท้ายแล้ว เป็นต้น
.
.
.
อยากจะบอกกับทุกๆคนว่า การจะฝึกทักษะเหล่านี้ไม่ได้ทำได้ภายในคืนเดียวหรอก
มันต้องเรียนรู้ไปเรื่อยๆ แต่ที่สำคัญคือ เราอยากจะเชียร์ให้ทุกคนลองเอาเคล็ดลับเหล่านี้ไปใช้ดู
เพราะเมื่อไหร่ที่เรา output มันออกมาบ่อยๆ มันจะทำให้เราจดจำสิ่งๆนั้นได้ดียิ่งขึ้น
เราเองก็ค่อยๆเรียนรู้และกำลังเรียนรู้อยู่ การที่เราเขียนเป็นบล๊อคออกมาก็ช่วยทำให้เราได้ทบวนตัวเองอยู่เสมอว่าเราทำสิ่งที่เราเขียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งนี่ก็ถือเป็น output อย่างหนึ่งที่เราทำเพื่อพัฒนาตัวเอง
จากวันแรกถึงวัน ณ ตอนนี้ เราก็ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของตัวเองเท่าไหร่
แต่เรารู้สึกได้ว่า ทุกครั้งที่เราจะถ่ายทอดหรือสื่อสารอะไรบางอย่างออกไป
เราจะคิดเสมอว่า ผู้รับสารนั้นคือใคร และเราต้องทำอย่างไรเขาถึงจะเข้าใจสารของเราได้อย่างที่เราต้องการ
เราว่าหากเราสามารถฝึกวิธีคิดแบบนี้จนกลายเป็นนิสัยติดตัวได้ เราจะเป็นคนที่สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าเราจะมีทักษะทางภาษามากน้อยแค่ไหนก็ตาม
ชื่อเรื่องดีมาก Ometenashi of writing!
ReplyDelete