Tell me about 'my'self

วันก่อนเราได้ดูคลิปธรรมดาๆคลิปหนึ่ง 
ในคลิปไม่มีอะไรเลย มีแค่คน 6 คนพูดแนะนำตัวเองทีละคน 
โจทย์มีอยู่ว่าเวลาแนะนำตัวจะต้องบอก 1.ชื่อ 2.สิ่งที่กำลังศึกษาอยู่ และ3.วิธีคลายเครียดของตน
คนในคลิปทั้ง 6 คนก็แนะนำตัวเองไปบลาๆๆ ไม่ได้พูดยืดยาว ไม่ได้มีอะไรพิเศษ แนะนำตัวปกติทั่วไปแบบที่ใครๆก็พอจะนึกภาพออก บางคนก็พูดอะไรฮาๆ เช่น ชอบคลายเครียดด้วยการแอบแหกปากร้องเพลงในห้องแลปเวลาไม่มีใครอยู่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่มีอะไรพิเศษไปมากกว่าแค่การพูดแนะนำตัวเองเลย

เมื่อดูคลิปนี้จบ อาจารย์ผู้นำคลิปนี้มาเปิดให้นักเรียนในห้องดู(เราคือหนึ่งในนั้น)ถามพวกเราว่า 
"ในบรรดา 6 คนเมื่อสักครู่ จำชื่อใครได้บ้าง"
ทุกคนมองหน้ากันพยายามนึกเสียงออกมาเป็นพยางค์ๆและเอามาเรียงต่อกันให้คล้ายชื่อคนให้มากที่สุด
อาจารย์ขำและเปลี่ยนคำถาม
"งั้นเอาใหม่ ในบรรดา 6 คนเมื่อสักครู่ จำเรื่องของใครได้บ้าง" 
มีคนตอบไปว่าจำเรื่องร้องเพลงในห้องแลปได้ เราก็เสริมไปว่า เออ ใช่ๆ จำเรื่องนั้นได้เหมือนกัน คนอื่นอีกสองสามคนก็เห็นด้วยเช่นกัน
อาจารย์ถามอีกครั้งเป็นคำถามทิ้งท้ายในวันนั้นว่า...

"แปลกเนอะ ทำไมเราถึงจำเรื่องราวของคนนั้นได้แต่จำเรื่องของคนอื่นไม่ได้ แถมเรายังจำเรื่องราวของเขาได้ทั้งๆที่เราจำชื่อเขาไม่ได้ด้วยซ้ำ"

...อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เราจำเรื่องราวของคนๆนึงได้?





วันนี้เราจะมานำเสนอ
 3 วิธีที่ช่วยให้การแนะนำตัวของเราน่าสนใจมากขึ้น 

ก่อนอื่นเรามาดูบทถอดเสียงของการแนะนำตัวแบบปกติ๊ปกติของเรากัน (แอบอาย)

こんにちは。はじめまして、ラティコーン・シアヌタチャイと申します。ニックネームはアースです。アースで呼んでください。えー、今、あー、日本人とタイ人の許可を求める、求め方について研究しています。例えばタイ人は、あのう、あるパターン、あのう、ある許可を求めるパターンがあって、そしてそれに対して日本人も、あのう、そのようなパターンがあるかどうか、あのう、見ています。そして、ストレス解消は、音楽をやることです。以上です。よろしくお願いします。
ไม่แปลกเลยที่ไม่มีใครจำอะไรเกี่ยวกับเราได้หลังจากแนะนำตัวเสร็จ
...ก็มันไม่มีอะไรน่าสนใจเลยนี่นา

ทีนี้ ก่อนที่เราจะทำให้การแนะนำตัวของเราดีขึ้น

เรามาลองตั้งเป้าหมายในการแนะนำตัวเองของเรากัน
ต่อจากนี้ ทุกๆครั้งก่อนที่เราจะแนะนำตัวเอง ให้เราลองตั้งจุดประสงค์ในการแนะนำตัวเองดูว่า
เราแนะนำตัวเองเพื่ออะไร
สมมติว่าเราต้องการแนะนำตัวเองเพื่อให้คนอื่นจำเราได้
เราลองเอาข้อความแนะนำตัวด้านบนของเรามาทำให้เป็นที่น่าจดจำมากขึ้นดู

TRICK 1 - คนฟังมักจะจำเรื่องราวได้ดีกว่าชื่อเฉพาะ

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่คนอื่นจะจำชื่อเราไม่ได้ เพราะชื่อเฉพาะเป็นสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กับความเป็นตัวเราในแง่ความหมายเลย พูดง่ายๆคือ ชื่อของเรามักไม่ได้บอกตัวตนอะไรเกี่ยวกับเราเลย
ดังนั้นคนทั่วไปจึงมักจะให้ความสนใจที่เรื่องราวของเรามากกว่า
รู้อย่างงี้แล้ว เราก็ทำใจไว้เลยว่า โอเค เธอไม่ต้องจำชื่อเราก็ได้ แต่เธอจำเรื่องราวของเราให้ได้ก็พอ

TRICK 2 - สร้างกิมมิคให้เรื่องราวของเรา 

ไหนๆคนก็จำชื่อเราไม่ได้แล้ว เรามาลองทำให้เรื่องราวของเราเป็นที่น่าจดจำกัน
จากตัวอย่างบทถอดเสียงแนะนำตัวข้างต้น 
เราจะขอเลือกวิธีคลายเครียดมาใช้เป็นเรื่องราวบ่งบอกความเป็นตัวตนของเราให้คนอื่นรู้
วิธีคลายเครียดของเราคือ音楽をやることหรือการเล่นดนตรี
ฟังดูเข้าหูซ้ายทะลุหูขวามาก มันช่างธรรมด๊าธรรมดา ไม่น่าจดจำเลย
เรามาลองใส่Factที่เกี่ยวกับเรา 2 ข้อลงไปเพื่อทำให้เรื่องราวนี้น่าสนใจมากขึ้นกัน
Factสองข้อที่เราเลือก คือ 1.เราเล่นดนตรีได้ 2.เราเลี้ยงหมา
จากนั้นเชื่อมFactสองข้อนี้เข้าด้วยกันโดยใช้จินตนาการที่ตั้งอยู่บนความเป็นจริงเพื่อสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจขึ้นมา...
ストレス解消は、飼っている犬にピアノを弾いたり、歌を歌ったりして聞かせることです。
แบบนี้พอจะเป็นที่จดจำได้บ้างไหมนะ

TRICK 3 - เล่าเรื่องราวเป็นฉากๆ

หลังจากที่เราได้เรื่องราวอันเป็นกิมมิคของเราแล้ว วิธีเล่าก็มีผลต่อผู้ฟังเช่นกัน
เรามาใช้ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นให้เป็นประโยชน์กัน
สิ่งนั้นคือ การเอาสิ่งที่สำคัญที่สุดไปเฉลยไว้ตอนท้ายโดยค่อยๆเกริ่นมาทีละนิด
ขอยกตัวอย่างการแนะนำตัวของหนึ่งใน 6 คนในคลิป
ストレス解 消に行うことなんですけど、研究室に入っていてですね、学生がいる部屋があるん ですね、たまに誰もいなくなるときがあるんです。そこでたまに一人で大声で歌っ ている。それがストレス解消法に行っていることです。
จะเห็นว่าเขาจะค่อยๆโปรยรายละเอียดมาทีละนิดเพื่อให้ผู้ฟังค่อยๆนึกภาพตามไปด้วย
เหมือนเป็นการเตรียมภาพในหัวผู้ฟังเอาไว้ก่อนว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในห้องแบบนี้ ในสถานการณ์แบบนี้นะ แล้วค่อยบอกใจความสำคัญหลักลงไปท้ายสุด
เราลองมาปรับใช้กับเรื่องราวของเราดู
ストレス解 消に行うことなんですけど、家にいる時ですね、たまに両親とか妹とか誰もいなくなるときがあって、家に私と飼っている犬としかいない寂しいときがあるんです。そんな時にピアノを弾いたり、歌を歌ったりして犬に聞かせている。それがストレス解消法に行っていることです。
เป็นอย่างไรบ้าง ดูเป็นฉากๆขึ้นมาบ้างรึยัง
การใช้สำนวน なんですけど、ですね、んです。เป็นสำนวนที่ช่วยให้เราสามารถเล่าเรื่องราวเป็นฉากเป็นลำดับได้อย่างดี ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังตามลำดับความคิดของผู้พูดได้อีกดีด้วย



นี่เป็นแค่ข้อสังเกตเล็กๆที่ได้จากการเปรียบเทียบระหว่าง สิ่งที่เราทำ กับ สิ่งที่เราคิดว่าดี

แน่นอนว่ายังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ช่วยทำให้การแนะนำตัวของเราดีขึ้น เช่น การใช้ภาษาที่ถูกต้อง
จะเห็นว่าในบทถอดเสียงของเราก็มีหลายจุดที่ใช้ภาษาผิดๆ เช่น アース呼んでください ที่ควรเปลี่ยนเป็น アーって呼んでください จริงๆแล้วเราก็รู้อยู่ว่ามันผิด แต่ตอนพูดเราอาจจะไม่ทันรู้ตัวว่าเรากำลังพูดอะไรอยู่ พอได้ลองกลับมาฟังเสียงของตัวเองถึงได้รู้ว่าเราพูดผิด เราก็ต้องระวังตรงจุดนี้ในการพูดครั้งต่อไป ส่วนสำนวนที่เราไม่เคยใช้เช่น なんですけど、ですね、んです。เราก็คงต้องฝึกจนกว่าจะสามารถใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ครั้งต่อไปหากมีโอกาสได้แนะนำตัว ลองนำ 3 ข้อนี้ไปปรับใช้ดู แล้วมาเล่าสู่กันฟังด้วยว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง เวิร์กไม่เวิร์กอย่างไร แน่นอนว่าตัวเองก็จะนำไปปรับใช้ด้วยเช่นกัน สู้ๆค่า









Comments

  1. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
    Replies
    1. สำนวน「なんですけど、ですね、んです」ช่วยให้เล่าเรื่องเป็นลำดับมากขึ้นจริง เราว่าสำหรับคนฟังมันฟังง่ายขึ้นด้วยนะ
      *ร้องเพลงให้หมาฟัง ฟังแล้วนึกถึงเรื่อง『セロ弾きのゴーシュ』ของ宮沢賢治 (แต่ในเรื่องจะเป็นแมว55)

      Delete

Post a Comment

Popular Posts